วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ด้านมืด ของสังคมญ่ี่ปุ่น ที่คุณอาจไม่รู้

ด้านมืด ของสังคมญ่ี่ปุ่น ที่คุณอาจไม่รู้





"คนนอก" กลุ่มคนที่ญี่ปุ่น "ปฏิเสธ"

แม้ว่าหน้าตาและสำเนียงการพูดจะเหมือนญี่ปุ่นมาก แต่เมื่อคนญี่ปุ่นรู้ว่าตนเป็นต่างด้าวก็จะถูกเลือกปฏิบัติ แม้ว่าตนเองเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นที่ไม่ได้อยู่อาศัยในญี่ปุ่นก็รู้สึกได้ ส่วนการให้บริการต่างๆ ในทางธุรกิจ ญี่ปุ่นจะไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งสถานีรถไฟ โรงแรม ภัตตาคาร เพราะถือเป็นมาตรฐานการให้บริการของญี่ปุ่นที่ปฏิบัติต่อทุกคนเหมือนๆ กัน ฉะนั้น ถ้าแค่ไปเที่ยวญี่ปุ่นก็จะไม่รู้สึกถึงเรื่องนี้และรู้สึกประทับใจด้วย แต่เมื่อต้องไปอยู่และถูกปฏิบัติแบบเป็นส่วนตัว หรือตามร้านค้าแถวบ้านก็อาจรู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ



"อีกประเด็นที่ทำให้คนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นไม่ระแคะระคายในประเด็นนี้คือสังคมญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความกังวลเรื่องสิทธิมนุษยชนเรื่องวัฒนธรรมต่างๆที่เป็นสากลนิยมแต่ต้องยอมรับว่าบางเรื่องภายในของคนญี่ปุ่นก็ยังมีเรื่องที่เขายอมรับไม่ได้เพียงแต่เขารู้ว่าต้องแสดงออกอย่างไรไม่ให้ถูกติเตียนในทางสากลแต่เราก็ห้ามไม่ให้คนญี่ปุ่นไม่คิด หรือยอมรับเรื่องเหล่านี้ (การเหยียดลูกครึ่ง) ก็คงไม่ได้"

"เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้จึงเกิดขึ้นโดยที่เรามองไม่เห็น มันไม่ออกมาในที่แจ้ง ในที่สาธารณะ มันผ่านการดูหมิ่นดูแคลนจากข้างในของเขา และมีการปฏิบัติต่อเรื่องพวกนี้แบบเนียนๆ  คือเขาก็ให้สิทธิพื้นฐานคนเหล่านี้อย่างเท่าเทียม แต่มีการเลือกปฏิบัติได้น่ากลัวมากๆ"





ถ้าไม่ยอมรับ "ไม่มีวันมีตัวตน" ในญี่ปุ่น

กรณีที่สังคมญี่ปุ่น โดยเฉพาะในโรงเรียนมีการกลั่นแกล้งลูกครึ่ง และไม่ยอมรับพวกเขา จนกระทั่งกลุ่มลูกครึ่งญี่ปุ่นหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวว่า พวกเขาไม่เคยรู้สึกว่าสังคมญี่ปุ่นนับพวกเขารวมอยู่ในสังคมเลย า การที่ลูกครึ่งในญี่ปุ่นรู้สึกเช่นนั้น เพราะการกลั่นแกล้งลูกครึ่งของญี่ปุ่นไม่ได้หมายความถึงการกระทำทางร่างกาย แต่คือ "การเพิกเฉย" จนทำให้ลูกครึ่งเหล่านั้นแปลกแยก

"ญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่น่ากลัวอยู่อย่างหนึ่งคือเขามีวิธีการที่จะเพิกเฉยเรื่องนั้นๆ หรือตัดคนออกจากวงสังคมไปเป็นคนนอกได้ในวิถีชีวิตประจำวันและสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการกลั่นแกล้งคนๆหนึ่งในโรงเรียนที่ทำงานหรือชุมชน ก็คือการทำให้เขาเหล่านั้นไม่มีตัวตนนั่นเอง ซึ่งก็คือการเพิกเฉย นั่นคือการกลั่นแกล้งอย่างหนึ่งที่คนญี่ปุ่นทำกัน"







สังคมซับซ้อน "ย้อนแย้งสูง"

 เขามีวิถีชีวิตประจำวันปกติ กับชีวิตที่ไม่ใช่วิถีชีวิตประจำวันไม่ปกติ อย่างเรื่องงานเทศกาลต่างๆ หรือในวงการบันเทิง คนญี่ปุ่นก็ชอบทำอะไรบ้าๆ บอๆ ไม่ต้องแคร์อะไร เช่น ใส่เตี่ยวผืนเดียวลงน้ำ เป็นต้น ฉะนั้น เรื่องในวงการบันเทิง คนญี่ปุ่นจะมองว่ามันเป็นชีวิตที่ไม่ใช่วิถีชีวิตประจำวันไม่ปกติ ลูกครึ่งเหล่านั้นก็อาจได้รับการยกเว้นไป แต่ถ้ากลับมาอยู่ในวิถีชีวิตปกติ คนญี่ปุ่นก็จะกลับมาสู่การเป็นอนุรักษ์นิยม และกลับมาเกาะกลุ่มอยู่ในคนพวกเดียวกันเหมือนเดิม หรือต่อต้านคนแตกต่างเช่นเดิม"

คนญี่ปุ่นสมัยใหม่อายุราว 20 กว่าปี ก็ยังมีความคิดเรื่องเหยียดเชื้อชาติฝังอยู่ตลอดเวลา อีกปัจจัยคือ คนญี่ปุ่นมีความคิดว่า ตนเองเหนือคนอื่น จึงภาคภูมิในตนเองสูงมากๆ แต่จริงๆ หลังจากเศรษฐกิจฟองสบู่ ญี่ปุ่นอาจมีความรู้สึกว่าตัวเองเหนือคนอื่นลดน้อยลง



ญี่ปุ่นไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็น "เอเชีย" 

อรรถเล่าว่า อีกประเด็นที่คนไทย ควรต้องทำความเข้าใจคนญี่ปุ่น ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของการเหยียดคนต่างชาติคือ ญี่ปุ่นไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นคนเอเชีย แต่จะให้คุณค่ากับชาวตะวันตกมากกว่า คนญี่ปุ่นจะมีปมบางอย่างที่เคารพคนตะวันตกมากกว่า เช่น คนญี่ปุ่นรู้สึกว่าตนแพ้อเมริกา ไม่ได้หรูหรารสนิยมเท่าฝรั่งเศส ญี่ปุ่นไม่ได้รุ่มรวยทางอาหารเท่าอิตาลี แต่ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นก็จะกดคนเอเชีย โดยจะไม่รวมตัวเองเข้ากับคนเอเชีย และเรียกวัฒนธรรมและชนชาติในเอเชียโดยรวมว่า "พวกเอเชีย" หรือ "อาหารเอเชีย" ขณะที่เรียกชาติตะวันตกแยกตามประเทศต่างๆ

"เขาจะคิดว่าทั้งวัฒนธรรมและอาหารของชาติเอเชียนั้นเป็นวัฒนธรรมรวมๆกันของเอเชียเช่นอาหารไทย กัมพูชา เกาหลี จีน เขาจะถือว่าเป็นอาหารเอเชีย แต่ถ้าอาหารอิตาลีเรียกว่า อาหารอิตาลี อาหารฝรั่งเศส ก็เรียกแยกเป็น อาหารฝรั่งเศส"






ไม่ง่าย! เป็น "นักเรียนต่างชาติ" ในญี่ปุ่น 

นอกจากการไม่ยอมรับลูกครึ่งในญี่ปุ่นแล้ว ญี่ปุ่นยังเลือกปฏิบัติต่อชาวต่างชาติในญี่ปุ่นด้วย 

กูรูญี่ปุ่น เล่าว่า นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นเป็นพลเมืองชั้นสอง ถ้าไปเป็นนักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นจะรู้สึกได้ชัดเจน เช่น การหาบ้านเช่าของนักเรียนต่างชาติญี่ปุ่นก็เป็นเรื่องลำบาก เพราะนักเรียนต่างชาติต้องทำบัตรชาวต่างด้าวในญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่นจะไม่ค่อยรับชาวต่างด้าวให้เช่าบ้านเพราะคนญี่ปุ่นมีความคิดว่าคนต่างด้าวชอบก่อเรื่องไม่ว่าจะเป็นชาติไหนก็ตามเช่นคิดว่าชาวต่างด้าวอาจทำเสียงดังและไม่ทำตามระเบียบสังคมญี่ปุ่นฉะนั้นจะใช้เวลานานมากที่จะหาบ้านให้เช่าได้สักหลังสำหรับนักเรียนต่างด้าว 

"ชาวต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนในญี่ปุ่นด้วยการปั๊มลายนิ้วมือ ซึ่งต้องตั้งคำถามว่าทำไมคุณต้องเก็บลายนิ้วมือคนต่างชาติ เพราะสังคมญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เคารพเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมด้านข้อมูลมาก คนญี่ปุ่นเองนั้นไม่มีบัตรประชาชน เขาจะใช้ทะเบียนบ้าน บัตรนักเรียน บัตรพนักงาน หรือพาสปอร์ตในการทำธุรกรรม"



ในญี่ปุ่น "เกาหลี" อยู่ยาก! 

"ญี่ปุ่นจะมีข้อฝังใจกับเกาหลีค่อนข้างมาก อาจเป็นเพราะเป็นเรื่องการเมืองในประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลก เคยมีกรณีที่เป็นข่าว ในญี่ปุ่นจะมีโรงเรียนสำหรับชาวเกาหลีที่มีเครื่องแบบนักเรียนคล้ายชุดประจำชาติเกาหลีที่ถูกนำมาตัดมาดัดแปลงเป็นเครื่องแบบนักเรียนเด็กเหล่านี้เคยมีข่าวถูกลวนลามบนรถไฟและเคยมีกรณีว่าเด็กที่ใส่ชุดนี้ถูกหินเขวี้ยงใส่กรณีอย่างนี้มีคนคิดว่าไม่เป็นไรเพราะพวกเขาเป็นพลเมืองชั้นสอง แต่มันจะเป็นข่าวที่ญี่ปุ่นพยายามไม่ให้มันผุดขึ้นมา เพราะญี่ปุ่นคิดว่าเป็นความน่าอับอาย แต่ก็เป็นที่รู้กันในหมู่คนเกาหลีในญี่ปุ่นที่โกรธแค้นต่อเรื่องเหล่านี้ 

มีบางกลุ่มที่พยายามพูดปัญหาเรื่องวิกฤตของชาวเกาหลีรุ่น 2 ในญี่ปุ่นเหล่านี้ แต่เป็นส่วนน้อย บางรายการโทรทัศน์ นิตยสาร วารสาร หรืออาจารย์มหาวิทยาลัยชึ้นนำที่เป็นคนเกาหลีในญี่ปุ่นพยายามพูดถึงปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้คนเกาหลีญี่ปุ่นได้รับการยอมรับ และคนเกาหลีเหล่านี้มักจะแต่งงานกับชาวเกาหลีรุ่น 2 ด้วยกันมากกว่า ถ้าจะแต่งกับคนญี่ปุ่นด้วยกัน ก็ต้องเป็นครอบครัวที่เปิดกว้างมากๆ




เหยียบ "มุมมืด" ไว้ให้มิดชิด

กูรูญี่ปุ่นเล่าถึงการปกปิดประเด็นจัณฑาลจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า ตนเคยเป็นล่ามเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ซึ่งต้องมีการเจรจาต่อรองกับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ และไทยจะเจาะตลาดต่อรองได้เกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม มีทั้งมากบ้าง น้อยบ้าง แต่มีอุตสาหกรรมกลุ่มหนึ่งที่ไทยไม่เคยสามารถเจาะได้เลยคือ กลุ่มอุตสาหกรรมการทำกระเป๋าและรองเท้า ซึ่งเป็นเครื่องหนัง และที่ไม่เคยได้รับโควต้าใดๆ จากกลุ่มอุตสาหกรรมนี้เลย ในระหว่างการเจรจารัฐบาลญี่ปุ่นจะข้ามหัวข้อกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ไป โดยทางเอกชนและรัฐบาลไทยก็พยายามมากที่จะต่อรองกับกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ จนฝ่ายไทยมีการตั้งคำถามมากๆ ว่า ทำไมเจาะกลุ่มนี้ไม่ได้ กระทั่งต้องมีกระซิบบอกเจ้าหน้าที่ถึงปัญหาเรื่องทางมนุษยวิทยาและสังคมของญี่ปุ่น เรื่องจัณฑาลนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวมากๆ และญี่ปุ่นไม่สามารถบอกเหตุผลตรงๆ ได้ เพราะเรื่องนี้น่าอับอาย รัฐบาลญี่ปุ่นอยากจะปกป้องผลประโยชน์ให้กลุ่มคนพวกนี้ เนื่องจากในสังคมของเขา คนเหล่านี้ไม่ได้รับความเท่าเทียมกันทางสังคมอยู่แล้ว จึงอยากชดใช้ให้ได้ประโยชน์เหล่านี้ 

"เรื่องแบบนี้ ญี่ปุ่นไม่สามารถพูดได้ แม้รู้อยู่เต็มอก ต้องปกปิดเอาไว้ เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เหมือนมีประชาธิปไตย และเหมือนจะไม่มีปัญหาทางด้านชนชั้นที่ไม่เท่าเทียม เรื่องนี้อ่อนไหวมาก เหมือนเป็นแผลทางประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่มีมานานและต้องปกปิด" กูรูญี่ปุ่นแชร์ประสบการณ์



อาชีพอิสระไม่เป็นหลักแหล่ง ไม่ใช่ "ฮิปสเตอร์ญี่ปุ่น" !


กูรูญี่ปุ่น ขยายประเด็นไปสู่การเพิ่มกลุ่มคนที่ถูกเหยียดในสังคมญี่ปุ่นถูกสร้างขึ้นใหม่เรื่อยๆ ล่าสุด มีการสร้างชนชั้นใหม่ๆ ที่เหยียดกันเกิดขึ้นเรียกว่าพวก "นีโตะ" ซึ่งเป็นผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแล้ว เป็นผู้ใหญ่เต็มวัย แต่ล่องลอยไปเรื่อย ไม่มีงานทำจริงจัง หรือรับจ้างทำงานไปเรื่อยๆ ไม่ใช่งานประจำ หรือถ้าเป็นฟรีแลนซ์ที่ไม่ได้ขึ้นมาเป็นนักวาดการ์ตูนชื่อดังก็อาจถูกจัดว่าเป็นพวก "นีโตะ" เช่นกัน 

"ถ้าเป็นเมืองไทย เราเจอคนแบบนี้ก็จะถูกจัดว่า อุ๊ย! นี่ฮิปสเตอร์ เก๋ มีวิถีของตัวเอง แต่กับสังคมญี่ปุ่นก็จะคิดว่าไม่ได้เป็นพวกอยู่ในระบบ ก็กลายเป็นพวกที่ถูกเหยียดขึ้นมาในสังคมญี่ปุ่น หรือพวกที่ไม่ได้อยู่ในระบบ อีกพวกที่ถูกเหยียดคือพวกโฮมเลส เพราะในญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้มาเป็นเพราะความยากจน แต่เขาเป็นคนที่ไม่สามารถจะอยู่ในระบบสังคมหรือการทำงานของญี่ปุ่นได้ พวกเขาล้มเหลวในการใช้ชีวิตในระบบญี่ปุ่น บางคนก็มีครอบครัวแล้ว มีงานทำแล้ว แต่หนีออกมาใช้ชีวิตแบบโฮมเลสและจะถูกปฏิบัติอีกแบบจากสังคมญี่ปุ่นซึ่งเป็นปัญหาที่ญี่ปุ่นพยายามปกปิด แต่เรื่องนี้ก็เห็นได้ง่าย เพราะโฮมเลสก็มีอยู่ทั่วไปตามสวนสาธารณะในญี่ปุ่น"




















อ้างอิงข้อมูลจาก  https://pantip.com/topic/33810266