สนธิสัญญากรุงโรม
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป
จากสนธิสัญญากรุงโรมเป็นสหภาพยุโรป
เมื่อหวนมองดู 60 ปีแห่งการรวมยุโรปเป็นเอกภาพ สามารถเห็นได้ว่า ยุโรปได้มีก้าวพัฒนาที่สำคัญและการถอดบทเรียนอย่างมากมาย โดยหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง การเมืองในภูมิภาคยุโรปได้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายศตวรรษที่ยุโรปไม่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของโลก ในขณะเดียวกัน ได้มีการจัดทำสนธิสัญญาโรมที่เปิดทางให้แก่การก้าวไปสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป โดยสนธิสัญญาโรมเริ่มจากความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีตามข้อเสนอของนาย Robert Schumann รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ปี 1950 เพื่อยุติความเป็นอริผ่านการจัดตั้งกลไกการบริหารการผลิตและใช้ประโยชน์จากถ่านหินและเหล็กร่วมกัน ซึ่งเปิดทางให้ทุกประเทศสมาชิกอียูเข้าร่วม
แนวคิดจัดทำสนธิสัญญาโรมคือแนวคิดแห่งการปฏิวัติเนื่องจากในขณะนั้นไม่มีรูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศใดๆที่อาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก แม้กระทั่งแผนการรวมยุโรปเป็นเอกภาพ ซึ่งเป็นแผนการที่มีความทะเยอทะยานและต้องใช้เวลาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเอกภาพด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคมปี 1957 ได้มีการจัดตั้งประชาคมยุโรปอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้สร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาอียูในปัจจุบัน ต่อมาในปี 1970 และปี 1980 ยุโรปได้มีพัฒนาการทั้งขอบเขตและคุณภาพ โดยจำนวนประเทศสมาชิกได้เพิ่มขึ้นจาก 6 ประเทศเป็น 12 ประเทศและพัฒนาจากสหภาพภาษีศุลกากรเป็นตลาดเดียว รวมทั้งให้คำมั่นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้า การหมุนเวียนเงินทุน การบริการและแรงงานอย่างเสรีภายในกลุ่มและตั้งเป้าหมายว่า จะจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจ-การเงินยุโรป ซึ่งหลังช่วงสงครามเย็น ประชาคมยุโรปได้พัฒนาเป็นสหภาพยุโรปรวม 28 ประเทศสมาชิก ทั้งนี้ อียูได้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยสมาชิกอียูครึ่งหนึ่งได้ใช้เงินสกุลยูโร
จากความมุ่งมั่นในการจัดทำสนธิสัญญาโรมเมื่อ 60ปีก่อน อียูต้องพัฒนา 3 เสาหลักได้แก่ความมั่นคง การเมืองและเศรษฐกิจภายใต้ระเบียบการและกฎหมายของกลุ่ม ซึ่งผลสำเร็จในการรวมยุโรปเป็นเอกภาพในปัจจุบันคือผลงานที่น่าภาคภูมิใจ แต่ประชาชนยุโรปกำลังมีความวิตกกังวล แม้กระทั่งการมองของประชาคมโลกในแง่ลบต่ออนาคตของกลุ่มนี้เนื่องจากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น วิกฤตหนี้สาธารณะที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอียูอยู่ในภาวะซบเซา การที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียู หรือ Brexit ซึ่งทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับอนาคตของกลุ่ม ปัญหากระแสผู้อพยพเข้ายุโรปที่สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของยุโรป ปัญหาที่ยังคงให้ศาสนาคริสต์เป็นหลักหรือการยอมรับศาสนาอิสลามเข้ามาผสมผสาน รวมถึงการรับตุรกีเป็นสมาชิกและปัญหาผู้อพยพมุสลิมที่นับวันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัญหาต่างๆดังกล่าวล้วนเป็นคำถามที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ส่วนการที่นาย ฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมการยุโรปได้ประกาศว่า จะไม่ลงสมัครประธานคณะกรรมการยุโรปอีกสมัยนั้นแสดงให้เห็นว่า บรรดาผู้นำอียูยังไม่มีความมั่นใจต่ออนาคตของกลุ่มและเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการยุติบทบาทของนักการเมืองที่มีบทบาทมาตั้งแต่การเริ่มก่อตั้งประชาคมยุโรป
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/747098
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น