วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561

CITES ย่อมาจาก?

CITES ย่อมาจาก?



        CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) คือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชพรรณจากป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เพื่อปกป้องและคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าจากการใช้ประโยชน์เพื่อการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นมากจนอาจทำให้สัตว์และพืชบางชนิดสูญพันธุ์ได้ ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นสมาชิกอนุสัญญา CITES ทั้งสิ้น 152 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญา CITES เมื่อปี พ.ศ. 2526

     ภายใต้อนุสัญญา CITES ประเทศสมาชิกต้องจัดให้มีบทบัญญัติทางกฎหมายที่ใช้บังคับตามข้อกำหนดของอนุสัญญา โดยการห้ามทำการค้าพันธุ์พืชและสัตว์ที่เป็นการละเมิดอนุสัญญา CITES และมีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอนุสัญญา CITES จะประชุมกันในทุก 2 ปี เพื่อทบทวนการนำข้อบังคับของ CITES ไปใช้ ตลอดจนเพื่อทบทวนความเหมาะสมของบัญชีสัตว์และพืชที่อยู่ในอนุสัญญาด้วย

     สำหรับบัญชีพืชและสัตว์ตามข้อกำหนดของอนุสัญญา CITES (Appendix) สามารถจำแนกตามความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ดังนี้ Appendix I เป็นบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่ใกล้สูญพันธุ์และอาจสูญพันธุ์ได้หากยังนำมาค้าขายกันอยู่ เช่น กล้วยไม้รองเท้านารี กล้วยไม้เอื้องปากนกแก้ว เป็นต้น การค้าสัตว์หรือพืชที่ใกล้สูญพันธุ์มีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากจนอาจเรียกได้ว่าเป็นบัญชีสัตว์หรือพืชที่ห้ามทำการค้าขายกันโดยปริยาย เว้นแต่เป็นการขยายพันธุ์หรือ เพาะพันธุ์เพื่อการศึกษาและวิจัยเท่านั้น

     Appendix II เป็นบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่เหลือค่อนข้างน้อยแต่ยังไม่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นปรง ต้นพญาไร้ใบ ต้นกฤษณา เป็นต้น สัตว์หรือพืชในบัญชีนี้ได้รับอนุญาตให้มีการค้าขายได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการควบคุมที่เข้มงวด อาจสูญพันธุ์ได้ในที่สุด

     Appendix III เป็นบัญชีสัตว์ป่าหรือพืชพรรณป่าที่ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศเห็นว่ามีความจำเป็นต้องให้ความคุ้มครอง จึงขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอื่นให้ช่วยควบคุมการค้าพืชหรือสัตว์พันธุ์นั้นๆ ด้วย เช่น การควบคุมการค้ามะเมื่อยจากประเทศเนปาล การควบคุมการค้านกขุนทองจากประเทศไทย เป็นต้น

     ในการเสนอพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์บรรจุเข้าในบัญชีตามอนุสัญญา CITES นั้น พืชหรือสัตว์พันธุ์ที่เสนอนั้นต้องยังมีการซื้อขายระหว่างประเทศ และประเทศที่มีพืชหรือสัตว์พันธุ์นั้นอยู่ต้องการให้ประเทศภาคีช่วยควบคุมดูแลมิให้มีการทำการค้าพืชหรือสัตว์พันธุ์นั้นมากจนเกินไป นอกจากนี้ การย้ายรายชื่อพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ข้ามบัญชีหรือการถอดถอนรายชื่อออกจากบัญชีสามารถทำได้ในกรณีที่จำนวนประชากรพืชหรือสัตว์นั้น มีมากพอที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองจากอนุสัญญา CITES อีกต่อไป







กรณีของประเทศไทย

      ในกรณีของประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าหายากเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็มีการค้าพันธุ์พืชป่าและสัตว์ป่าหายากเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศและนอกประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งให้ความคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านั้นอย่างจริงจัง โดยมีแนวทางดังนี้

แนวทาง
1. วางกฎเกณฑ์ปฏิบัติอย่างชัดเจนสำหรับการห้ามค้าพืชและสัตว์ภายใต้อนุสัญญา CITES เพื่อให้การคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชพรรณป่าได้ผลอย่างจริงจัง

2. กำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอย่างสมเหตุสมผลมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากบทลงโทษด้วยการเปรียบเทียบปรับในปัจจุบันมีมูลค่าต่ำมากเมื่อเทียบกับมูลค่าสินค้าที่ลักลอบซื้อขายกัน

3. พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการจำแนกพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การตรวจสอบเพื่อจับกุมหรือการอนุญาตให้ค้าพันธุ์พืชและสัตว์เป็นไปได้อย่างราบรื่น

4. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงความสำคัญของทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชพรรณจากป่า เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ป่าอย่างยั่งยืนและได้รับประโยชน์จากอนุสัญญา CITES อย่างเต็มที่





อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.ryt9.com/s/ryt9/251162






สนธิสัญญาริโอ

สนธิสัญญาริโอ


      เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกรานต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดยสันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา





     ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 เป็นองค์กรความร่วมมือในทวีปอเมริกาและ แคริบเบียน ซึ่งเป็นองค์กรหลักด้านการเมืองในทวีปอเมริกา และในปัจจุบันได้ขยายบทบาทเน้นหนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและคอรัปชั่น ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประเทศผู้สังเกตการณ์ 45 ประเทศ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรของ OAS เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2541 (ประเทศสมาชิกดูที่ FTAA)


     จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 ที่กรุงแอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย ปัจจุบัน OAU มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 52 ประเทศ


" เป็นความช่วยเหลือของภาครัฐบาลที่ประเทศพัฒนาแล้วให้กับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ มาตรฐานความ เป็นอยู่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสถาบันต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาประกอบด้วยความช่วยเหลือ 3 ด้านหลัก คือ ความช่วยเหลือให้เปล่า ความร่วมมือทางวิชาการ และเงินกู้ "



อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.mfa.go.th/dvifa/th/code?c=o















สนธิสัญญากรุงโรม

สนธิสัญญากรุงโรม


มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป



จากสนธิสัญญากรุงโรมเป็นสหภาพยุโรป
เมื่อหวนมองดู 60 ปีแห่งการรวมยุโรปเป็นเอกภาพ สามารถเห็นได้ว่า  ยุโรปได้มีก้าวพัฒนาที่สำคัญและการถอดบทเรียนอย่างมากมาย โดยหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง การเมืองในภูมิภาคยุโรปได้มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายศตวรรษที่ยุโรปไม่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของโลก ในขณะเดียวกัน ได้มีการจัดทำสนธิสัญญาโรมที่เปิดทางให้แก่การก้าวไปสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรป โดยสนธิสัญญาโรมเริ่มจากความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนีตามข้อเสนอของนาย Robert Schumann รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ปี 1950 เพื่อยุติความเป็นอริผ่านการจัดตั้งกลไกการบริหารการผลิตและใช้ประโยชน์จากถ่านหินและเหล็กร่วมกัน ซึ่งเปิดทางให้ทุกประเทศสมาชิกอียูเข้าร่วม
แนวคิดจัดทำสนธิสัญญาโรมคือแนวคิดแห่งการปฏิวัติเนื่องจากในขณะนั้นไม่มีรูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศใดๆที่อาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก แม้กระทั่งแผนการรวมยุโรปเป็นเอกภาพ ซึ่งเป็นแผนการที่มีความทะเยอทะยานและต้องใช้เวลาเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเอกภาพด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคมปี 1957 ได้มีการจัดตั้งประชาคมยุโรปอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้สร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาอียูในปัจจุบัน ต่อมาในปี 1970 และปี 1980 ยุโรปได้มีพัฒนาการทั้งขอบเขตและคุณภาพ โดยจำนวนประเทศสมาชิกได้เพิ่มขึ้นจาก 6 ประเทศเป็น 12 ประเทศและพัฒนาจากสหภาพภาษีศุลกากรเป็นตลาดเดียว รวมทั้งให้คำมั่นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้า การหมุนเวียนเงินทุน การบริการและแรงงานอย่างเสรีภายในกลุ่มและตั้งเป้าหมายว่า จะจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจ-การเงินยุโรป ซึ่งหลังช่วงสงครามเย็น ประชาคมยุโรปได้พัฒนาเป็นสหภาพยุโรปรวม 28 ประเทศสมาชิก ทั้งนี้ อียูได้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยสมาชิกอียูครึ่งหนึ่งได้ใช้เงินสกุลยูโร



จากความมุ่งมั่นในการจัดทำสนธิสัญญาโรมเมื่อ 60ปีก่อน อียูต้องพัฒนา 3 เสาหลักได้แก่ความมั่นคง การเมืองและเศรษฐกิจภายใต้ระเบียบการและกฎหมายของกลุ่ม ซึ่งผลสำเร็จในการรวมยุโรปเป็นเอกภาพในปัจจุบันคือผลงานที่น่าภาคภูมิใจ แต่ประชาชนยุโรปกำลังมีความวิตกกังวล แม้กระทั่งการมองของประชาคมโลกในแง่ลบต่ออนาคตของกลุ่มนี้เนื่องจากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา เช่น วิกฤตหนี้สาธารณะที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอียูอยู่ในภาวะซบเซา การที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียู หรือ Brexit ซึ่งทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับอนาคตของกลุ่ม ปัญหากระแสผู้อพยพเข้ายุโรปที่สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของยุโรป ปัญหาที่ยังคงให้ศาสนาคริสต์เป็นหลักหรือการยอมรับศาสนาอิสลามเข้ามาผสมผสาน รวมถึงการรับตุรกีเป็นสมาชิกและปัญหาผู้อพยพมุสลิมที่นับวันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัญหาต่างๆดังกล่าวล้วนเป็นคำถามที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้  ส่วนการที่นาย ฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมการยุโรปได้ประกาศว่า จะไม่ลงสมัครประธานคณะกรรมการยุโรปอีกสมัยนั้นแสดงให้เห็นว่า บรรดาผู้นำอียูยังไม่มีความมั่นใจต่ออนาคตของกลุ่มและเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการยุติบทบาทของนักการเมืองที่มีบทบาทมาตั้งแต่การเริ่มก่อตั้งประชาคมยุโรป



อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/747098

สนธิสัญญาโตเกียว

สนธิสัญญาโตเกียว


     ต่อท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) กำหนดพันธกรณีผูกพันต่อประเทศอุตสาหกรรมให้ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก UNFCCC เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อบรรลุ "เสถียรภาพความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศที่ระดับซึ่งจะป้องกันการรบกวนอันตรายจากน้ำมือมนุษย์กับระบบภูมิอากาศ"

     พิธีสารเกียวโตมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และมามีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 จนถึงเดือนกันยายน 2554 มี 191 รัฐลงนามและให้สัตยาบันพิธีสารฯ สหรัฐอเมริกาลงนามแต่มิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ และแคนาดาถอนตัวจากพิธีสารฯ ในปี 2554 รัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นซึ่งมิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ ได้แก่ อัฟกานิสถาน อันดอร์ราและเซาท์ซูดาน
ภายใต้พิธีสารฯ 37 ประเทศอุตสาหกรรม และประชาคมยุโรปในขณะนั้น ("ภาคีภาคผนวกที่ 1") ผูกมัดตนเองให้จำกัดหรือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสี่ชนิด (คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์) และแก๊สสองกลุ่ม (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนและเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน)
พิธีสารฯ อนุญาตให้มี "กลไกยืดหยุ่น" หลายข้อ เช่น การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก กลไกการพัฒนาที่สะอาด และการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้ประเทศภาคผนวกที่ 1 สามารถรักษาการจำกัดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกโดยการซื้อเครดิตลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากที่อื่น ผ่านการแลกเปลี่ยนทางการเงิน โครงการซึ่งลดการปล่อยในประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 จากประเทศอื่นในภาคผนวกที่ 1 หรือจากประเทศภาคผนวกที่ 1 ซึ่งมีเงินช่วยเหลือเกิน

ประเทศภาคผนวกที่ 1 แต่ละประเทศถูกกำหนดให้ต้องส่งรายงานประจำปีแสดงบัญชีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากน้ำมือมนุษย์จากแหล่งต่าง ๆ และการนำออกจากแหล่งกักเก็บภายใต้ UNFCCC และพิธีสารเกียวโต ประเทศเหล่านี้เสนอชื่อบุคคลเพื่อสร้างและจัดการบัญชีแก๊สเรือนกระจกของประเทศนั้น ๆ เรียกว่า "หน่วยงานผู้มีอำนาจของรัฐ" (designated national authority) แทบทุกประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 ยังได้ตั้งหน่วยงานผู้มีอนำาจของรัฐเพื่อจัดการข้อผูกมัดตามพิธีสารเกียวโตด้วย หรือโดยเฉพาะ "ขบวนการกลไกพัฒนาที่สะอาด" ซึ่งกำหนดว่าโครงการแก๊สเรือนกระจกใดที่ต้องการเสนอเพื่อให้ได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด

ที่การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โดฮาในปี 2555 ภาคีพิธีสารเกียวโตตกลงระยะผูกมัดการลดการปล่อยที่สองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งเกิดขึ้นในรูปของการแก้ไขพิธีสารฯ 37 ประเทศซึ่งมีเป้าหมายผูกพันในระยะผูกมัดที่สอง ได้แก่ ออสเตรเลีย รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปทุกรัฐ เบลารุส โครเอเชีย ไอซ์แลนด์ คาซัคสถาน นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์และยูเครน เมื่อรวมกันแล้ว ประเทศเหล่านี้จะลดการปล่อยร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับระดับเมื่อปี 2533 ระหว่างปี 2556-2563 เป้าหมายอาจปรับเพิ่มขึ้นในปี 2557 เป้าหมายการปล่อยที่ระบุไว้ในระยะผูกมัดที่สองจะมีผลต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของโลกราวร้อยละ 15 ภาคีภาคผนวกที่ 1 หลายรัฐซึ่งเข้าร่วมในพิธีสารเกียวโตรอบแรกมิได้รับเป้าหมายใหม่ในระยะผูกมัดที่สอง ได้แก่ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และรัสเซีย ภาคีภาคผนวกที่ 1 อื่นซึ่งไม่มีเป้าหมายรอบสอง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ซึ่งไม่เคยเป็นสมาชิกของพิธีสารฯ) และแคนาดา (ซึ่งถอนตัวจากพิธีสารเกียวโต มีผลบังคับปี 2555)


เป้าหมาย
กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม (ตามภาคผนวก 1) ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ก๊าซในกลุ่มไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน(HFCs) และเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ในปี พ.ศ. 2553 ลง 5.2% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2533..

ประเทศในภาคผนวก 1 
คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่นเป็นต้น ประเทศในภาคผนวก 1 ส่วนใหญ่ให้สัตยาบันแล้ว แต่ยังคงมีประเทศที่ลงนามในสัญญาแต่ยังไม่มีการให้สัตยาบัน คือสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ทำให้เป็นที่วิตกกังวลกันว่าการดำเนินการจะไม่ได้ผลเนื่องจากประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดอย่างสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่มีทีท่าว่าสภาคองเกรสจะให้สัตยาบัน โดยให้เหตุผลว่าจะกระทบอุตสาหกรรมของประเทศ


สนธิสัญญาโตเกียวกับประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศนอกภาคผนวก 1 ซึ่งไม่มีผลบังคับประเทศไทยซึ่งได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตแล้วเมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545เป็นเรื่องของกลไกการพัฒนาที่สะอาดซึ่งเราสามารถเลือกร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจ โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักแห่งชาติ (National Focal Point) ของอนุสัญญาและพิธีสาร




อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/747098


สนธิสัญญาปารีส

สนธิสัญญาปารีส

     เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ความตกลงดังกล่าวเจรจากันในช่วงการประชุมภาคีสมาชิกของยูเอ็นเอฟซีซีซีครั้งที่ 21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้รับความเห็นชอบในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โลร็อง ฟาบีอุส ประธานที่ประชุมและรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของฝรั่งเศส กล่าวว่าแผนการอัน "ทะเยอทะยานและสมดุล" นี้คือ "จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์" ในความพยายามลดภาวะโลกร้อน



       
เป้าหมายของอนุสัญญามีระบุไว้ในข้อ 2 ว่า เพื่อ "ส่งเสริมการบังคับใช้" ยูเอ็นเอฟซีซี ด้วยการ
"(ก) ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยตระหนักว่า ความพยายามนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลงอย่างมีนัยสำคัญ
(ข) เพิ่มพูนความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประคับประคองความคงทนต่อสภาพอากาศและการพัฒนาที่ก่อก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ ด้วยแนวทางที่ไม่เป็นภัยคุกคามต่อการผลิตอาหาร
(ค) ก่อให้เกิดการไหลเวียนของกระแสเงินทุนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางไปสู่การพัฒนาที่ก่อก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำและคงทนต่อสภาพอากาศ"

เบื้องหลัง
ตามที่ระบุไว้ในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น อาจมีการตกลงรับตราสารทางกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้เป้าหมายของอนุสัญญาบรรลุผลก็ได้ ฉะนั้น จึงมีการตกลงเกี่ยวกับมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกตามความในพิธีสารเกียวโตใน พ.ศ. 2540 เพื่อดำเนินงานในช่วง พ.ศ. 2540 ถึง 2551 ต่อมา มีการตรา "ข้อแก้ไขเพิ่มเติมโดฮา" (Doha Amendment) เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพิธีสารดังกล่าวให้ขยายการดำเนินงานออกไปจนถึง พ.ศ. 2563
ในระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2554 มีการกำหนด "แผนงานเดอร์บัน" (Durban platform) พร้อม "คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยแผนงานเดอร์บันสำหรับการดำเนินงานเพิ่มเติม" (Ad Hoc Working Group on the Durban Platform for Enhanced Action) เพื่อมุ่งเจรจาเกี่ยวกับตราสารทางกฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยมาตรการบรรเทาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนับแต่ พ.ศ. 2563 ฉะนั้น ใน พ.ศ. 2558 จึงมีการตกลงรับตราสารดังกล่าว




อ้างอิงข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA


คำว่าสนธิสัญญา ข้อตกลง และCOP24ย่อมาจากอะไร

สนธิสัญญา  =  treaty

ข้อตกลง = agreement

COP24ย่อมาจากอะไร

conference of the Paties to the United Nation framework conventoin

     การประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 24 (24th Conference of the Parties of United Nations Framework Climate Change Convention) หรือ COP 24 ในที่สุดก็บรรลุเป้าหมายสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติหลักเกณฑ์ใหม่ตามข้อตกลงปารีสที่ได้ลงนามกันตั้งแต่ปี 2558 ที่ทุกประเทศให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง เพื่อลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ท่ามกลางการประท้วงของกลุ่มต่างๆ เป็นระยะๆ หน้าสถานที่จัดประชุม นางแพททรีเซีย เอสพิโนซา เลขาธิการ UNFCCC กล่าวว่า ความสำเร็จของการประชุมที่โปแลนด์แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นโรดแมปนำไปสู่การแก้ไขปัญหา Climate Change รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการกระจายความรับชอบของประเทศต่างๆ ในโลก จากข้อเท็จจริงที่ว่า แต่ละประเทศมีกำลังและความสามารถ รวมทั้งการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน และเป็นการวางพื้นฐานให้เพิ่มความมุ่งมั่นได้มากขึ้นเมื่อมีความสามารถมากขึ้น แม้ยังมีบางส่วนที่ต้องทำงานในรายละเอียดอีกต่อไป แต่นับว่ามีการวางแนวทางการดำเนินงานให้เป็นระบบ 
     ทั้งนี้ ประเทศภาคีสมาชิกจะใช้แนวทางเดียวกันในการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดทำรายงาน และการยืนยันความคืบหน้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื่องจากเป็นแนวทางที่มั่นใจได้ว่าทุกประเทศมีการดำเนินการตามมาตรฐานและไม่มีการเบี้ยวข้อตกลง นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางที่เปิดให้ประเทศยากจนสามารถให้เหตุผลและนำเสนอแผนให้สอดคล้องกับกำลังความสามารถได้ หากไม่มั่นใจว่าจะทำได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
     นอกจากนี้ ได้กำหนดแนวทางเพื่อเป้าหมายใหม่ของการระดมเงิน โดยเริ่มจากปี 2025 จะระดมเงินมากขึ้นจากที่วางไว้ว่าจะระดมเงินปีละ 100 พันล้านดอลลาร์ ไปจนถึงปี 2020
     แม้ประสบความสำเร็จในการกำหนดกรอบการปฏิบัติขึ้น แต่ที่ประชุมไม่ประสบความสำเร็จในการขอให้ภาคีสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม ให้การยอมรับ (welcome) ผลงานวิจัย ชื่อว่า Global Warming of 1.5°C ที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ด้วยการสนับสนุนของสหประชาชาติได้ เนื่องจากมีประเทศใหญ่ 4 ประเทศคัดค้าน





4 ประเทศค้านไม่ยอมรับรายงาน IPCC

     สหรัฐอเมริกา ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย และคูเวต คัดค้านไม่ให้ที่ประชุมยอมรับรายงานฉบับนี้ ตามที่มัลดีฟซึ่งเป็นประธานกลุ่มพันธมิตรประเทศที่เป็นเกาะได้เสนอ จากแรงสนับสนุนของ 47 ประเทศในสหภาพยุโรป แอฟริกา ลาตินอเมริกา และอเมริกาใต้ โดยทั้ง 4 ประเทศให้ที่ประชุมเพียงแค่บันทึก (take note of) ไว้ว่ามีรายงานฉบับนี้เท่านั้น 
     การที่ที่ประชุมไม่สามารถให้ความเห็นยอมรับรายงาน Global Warming of 1.5°C ก็จะทำให้หลายประเทศละเลยผลการศึกษาของรายงาน IPCC มากขึ้น ทั้งๆ ที่รายงานระบุว่า การจำกัดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศไม่ให้เพิ่มขึ้นเกินระดับ 1.5 องศาเซลเซียสนั้น ต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนและต้องทำในสิ่งไม่เคยทำมาก่อนในทุกแง่มุมของสังคม


 อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าประชุมก็หวังว่าการประชุมในสัปดาห์ที่สองซึ่งจะมีผู้นำระดับรัฐมนตรีของหลายประเทศที่จะมาเข้าร่วมประชุมในวันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม จะให้ความสำคัญและพยายามมากขึ้นที่จะนำรายงานนี้กลับเข้าสู่ที่ประชุมอีกครั้ง



อ้างอิงข้อมูลจาก
https://thaipublica.org/2018/12/cop24-paris-agreement-global-climate-change-warming/



วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

โครงงานIS1 : โรตีกล้วยหอมฉบับเด็กหอ ไม่ง้ออาบัง


..โรตีกล้วยหอมฉบับเด็กหอ ไม่ง้ออาบัง..



1. ชื่อโครงงาน : โรตีกล้วยหอมฉบับเด็กหอ ไม่ง้ออาบัง
2.ผู้จัดทำ : นางสาว รัตน์ศิรินทร์ ภิรมย์ฤทธิ์ ชั้นม.4/8  เลขที่32
3. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน : อาจารย์ เกรียงไกร  ทองชื่นจิต
4. ขอบเขตของการทำโครงงาน/ ระยะเวลา  :  เดือนสิงหาคม - กันยายน
5. วัตถุประสงค์ของโครงงาน : 
          - เพื่อเป็นการดัดแปลงการทำโรตีกล้วยหอมให้ง่ายมากขึ้น
          - เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของบุคคลที่อยากรับประทานโรตีกล้วยหอมแต่หาซื้อทานได้ยาก
          - เพื่อเป็นการสะดวก และรวดเร็วในการทำ อีกทั้งยังหาซื้อวัตถุดิบได้ง่าย และราคาไม่แพง




บทคัดย่อ
     ในปัจจุบันนี้ โรตี เป็นขนมที่หากินได้ยากกว่าเมื่อก่อนการที่จะหาโรตีที่ทำมาจากต้นตำรับแท้ๆนั้นมีน้อย เพราะโดยส่วนมากแล้วบุคคลที่ขายโรตีหรืออาบังที่เรารู้จักกันนั้นเข้ามาค้าขายในประเทศได้น้อยลงเนื่องจากกฏหมายต่างๆจึงทำให้ขนมโรตีที่เป็นสิ่งที่หลายคนชื่นชอบกำลังค่อยๆหายไปทีละน้อย

ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงมีการพัฒนาสูตรและวิธีการทำโรตีกล้วยหอมฉบับเด็กหอ ไม่ง้ออาบัง เพื่อตอบสนองความต้องการของใครหลายๆคนรวมไปถึงผู้ที่สนใจ เนื่องจากใช้อุปกรณ์และวัตถุดิบที่หาได้ง่าย  และหวังว่าโครงงานชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่สนใจ และทุกคนๆ




กิตติกรรมประกาศ

     โครงงานเรื่องโรตีกล้วยหอมฉบับเด็กหอ ไม่ง้ออาบัง จะสำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน อาจารย์ เกรียงไกร ทองชื่นจิต ที่ได้ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แนะในการศึกษาค้นคว้า แนะนำขั้นตอนและวิธีจัดทำโครงงานจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี  ทางผู้จัดทำจึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
     ขอกราบขอบพระคุณ บิดา มารดา ที่ให้ความอนุเคราะห์ด้านการให้คำปรึกษา อำนวยงบประมาณ  ด้านอุปกรณ์ และวัตถุดิบในการใช้ทำโครงงานชิ้นนี้ ตลอดจนได้ให้คำปรึกษาแนะนำการจัดทำโครงงานจนประสบผลสำเร็จ
     ขอกราบขอบพระคุณ บิดา มารดา ที่ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน และสมาชิกในกลุ่มที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำโครงงานครั้งนี้จนกระทั่งประสบความสำเร็จด้วยดี 




บทที่1

  • วัสดุ อุปกรณ์

1.กล้วยหอม
2. ขนมปังตัดขอบ
3. นำ้มันสำหรับการทอด
4.ไข่ไก่
5.นำ้ผึ้ง หรือนมข้นหวาน แล้วแต่ความชอบ 
6. ไม้นวดแป้ง หากไม่มีสามารถใช้ขวดโหลแทนได้
7. เขียงสะอาด สำหรับรองขนมปัง
8. มีด


  • ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. คลึงขนมปังให้แบนเรียบ หากไม่มีไม้นวดแป้งให้ใช้ขวดโหลเรียบๆก็ได้ พยายามคลึงให้แผ่นใหญ่ๆ



2. หั่นกล้วยเป็นแว่นๆไม่บางหรือหนาจนเกินไป จากนั้นนำมาเรียงในแผ่นขนมปังที่คลึงไว้ก่อนนหน้านี้ตามรูป

3. พับขนมปังเข้าหากัน




4. จากนั้นให้ใช้สันมีดกดทับบนขอบๆขนมปังจนขนมปังปิดกันจนสนิท ควรระวังอย่าใช้แรงกดมากจนเกินไปอาจจะทำให้ขนมปังขาด และอย่าเบาจนเกินไปเพราะจะทำให้ขนมปังหลุดออกจากกัน





5. ตอกไข่ใสชามแล้วตีให้ไข่แดงกับไข่ขาวเข้ากัน

6. นำขนมปังมาชุบกับไข่ที่ตีไว้

7. ตั้งกระทะไฟปานกลาง ไม่ควรไฟแรงเกินไปเพราะจะทำให้ขนมปังและตัวไข่ที่เคลือบนั้นไหม้ และทำให้โรตีไม่อร่อย




8. ทอดให้ขนมปังสุกทั่วทั้งแผ่นและเป็นสีเหลืองกรอบ


 9. หลังจากที่ทอดจนเหลืองกรอบแล้วให้นำออกจากกระทะ 

  


10. จัดลงจานและหั่นเป็นชิ้นๆให้สวยงาม
11. ราดนำ้ผึ้งหรือ นมข้นหวานก็ได้  แล้วแต่ความชอบ

  



  • สรุปผลการดำเนินงาน

     โครงงาน โรตีกล้วยหอมฉบับเด็กหอ ไม่ง้ออาบัง นี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้ความรู้และการชี้แนะแนวทางแก่ผู้ที่สนใจ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การทำโรตีแบบง่ายๆ ที่การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และวัตถุดิบหาได้ง่าย และสามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว ง่าย และมีรสชาติถูกปาก ซึ่งผู้สนใจสามารถศึกษาได้ด้วยตัวเองไปตามความสามารถของตน จนเกิดความเข้าใจ และเป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ และเกิดคุณค่า
  • ข้อเสนอแนะ

ควรระบุวัตถุดิบและปริมาณที่ต้องใช้ต่อจำนวนผู้รับประทานให้ชัดเจน ควรมีการจัดทำเนื้อหาให้มีรายละเอียดมากกว่านี้ และควรมีวิดิโอตัวอย่างการทำเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
  • อ้างอิง
https://www.webtoons.com/th/tiptoon/lazy-cooking/ep-2-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%99-/viewer?title_no=646&episode_no=2

สามารถค้นหาได้ที่ WEBTOON  
เรื่อง ครัวง่ายๆสไตล์เด็กหอ 
ของผู้เขียน ซิบบิล 
ในตอนที่2 : ของที่อยากกิน