AEC ประชาคมอาเซียน : ประเทศมาเลเซีย
AEC :ประเทศมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซีย
เมืองหลวงของประเทศ : กัวลาลัมเปอร์ (มลายู: Kuala Lumpur, อักษรยาวี: كوالا لومڤور, ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์) เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL
กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามดินแดนสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐเซอลาโงร์บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมลายู
พื้นที่ของประเทศ : 330,803 ตร.กม
จำนวนประชากรของประเทศ : 31.19 ล้าน
ภาษาประจำชาติ : ภาษามาเลเซีย (มาเลเซีย: Bahasa Malaysia; อังกฤษ: Malaysian language) หรือ ภาษามลายูมาตรฐาน (มาเลเซีย: Bahasa Melayu Baku; อังกฤษ: Standard Malay language) เป็นภาษาราชการของประเทศมาเลเซียและเป็นทำเนียบภาษาที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานจากภาษามลายูถิ่นมะละกา มีความใกล้เคียงกับภาษาอินโดนีเซียกว่าร้อยละ 95 มีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่เป็นจำนวนกว่า 10 ล้านคน และมีผู้พูดเป็นภาษาที่สองประมาณ 18 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซียจากกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากชาวมลายู ภาษามาเลเซียยังเป็นหนึ่งในวิชาบังคับในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของมาเลเซียอีกด้วย
สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (มลายู: Ringgit Malaysia) หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น (รหัสเงินตรา MYR). ดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์บรูไนก็เรียกว่า ริงกิต ในภาษามลายู คำว่า ringgit ในภาษามลายูแปลว่า "เป็นหยัก ๆ" และใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ของ เหรียญเงินของประเทศสเปนที่ใช้แพร่หลายในพื้นที่
ในปี พ.ศ. 2380 รูปีได้กลายเป็นเงินตราราชการชนิดเดียวในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) แต่ในปี พ.ศ. 2410 เหรียญเงินได้เป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการนำดอลลาร์ช่องแคบ (Straits dollar) ออกมาใช้โดย Board of Commissioners of Currency โดยที่ตั้งราคาไว้ที่ 2 ชิลลิง และ 4 เพนซ์ และได้มีการห้ามไม่ให้ธนาคารเอกชนออกธนบัตรเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้เกิดความไม่ต่อเนื่องของเงินตรา 2 ครั้ง คือ การยึดครองของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2487) และการลดค่าเงินของปอนด์สเตอร์ลิงในปี พ.ศ. 2510 เป็นเหตุให้ธนบัตรของ Board of Commissioners of Currency of Malaya and British Borneo ลดค่าไป 15% ในขณะที่ดอลลาร์ของ Bank Negara Malaysia และ Commissioners of Currency ของสิงคโปร์และบรูไนไม่มีการลดค่า
ชื่อภาษามลายู คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิต และ เซ็น ในภาษามลายู อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วง พ.ศ. 2533
ตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของริงกิตกับดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ RM3.80 ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ดอกไม้ประจำชาติ :
ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม
อาหารขึ้นชื่อ : นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย โดยนาซิ เลอมัก จะเป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ ซึ่งนาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตอง และมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลาย
แกงหัวปลา ( Curry Fishhead ) แกงหัวปลาเป็นอาหารมาเลที่ผสมผสานด้วยเครื่องเทศและใบการี่ลีฟ ซึ่งเป็นผักของอินเดีย รสชาตินั้นกลมกล่อมมาก เคล็ดลับที่สำคัญของอาหารจานนี้คือหัวปลาจะต้องไม่คาวเพราะ หากหัวปลาคาวแล้วก็จะทำให้น้ำแกงคาวไปด้วยและทำให้รสชาติไม่อร่อย
สถานที่สำคัญในประเทศ :
คงไม่เกินจริงเลยสักนิดหากจะบอกว่าอุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู รัฐซาราวัก คือหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่งดงามที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยหินปูนที่เรียงรายเป็นรูปแปลกตาสวยงามราวกับงานศิลปะ ทว่าเกิดขึ้นมาจากฝีมือของธรรมชาติล้วน ๆ รวมทั้งถ้ำซาราวัก ถ้ำใต้ดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใหญ่พอจะสามารถใช้จุเครื่องบินโบอิ้ง 747 จำนวน 40 ลำได้สบาย ๆ
ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซีย บริเวณทะเลอันดามัน คือที่ตั้งของ
หมู่เกาะลังกาวี ที่ประกอบไปด้วยเกาะมากถึง 99 เกาะ ซึ่งอวดโฉมความงดงามตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นชายหาด ป่าฝน ป่าชายเลน และภูเขา โดยปัจจุบันมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น โรงแรมและร้านอาหารไปเปิดมากขึ้นแล้ว ช่วยให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวครบวงโคจรเลยทีเดียว
ไม่ต่ำกว่า 200 ปีก่อน กัวลาลัมเปอร์เคยเป็นแค่เมืองขุดเหมืองของมาเลเซียเท่านั้น มันเป็นเมืองที่เงียบเหงา ผิดกับปัจจุบันที่มีผู้คนพลุกพล่านเต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวทันสมัย ที่คนรักการสังสรรค์ต้องมาให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการช้อป ทานของอร่อย หรือชมวิวสูงบนตึกระฟ้า เชื่อเถอะว่าที่นี่ตอบโจทย์ของคุณได้หมดแน่นอน
เกาะปีนังบริเวณช่องแคบมะละกา ทางตอนใต้ของชายฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือประเทศมาเลเซีย คือหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเมืองจอร์จทาวน์บนเกาะแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งก็ว่าได้ แถมจากการที่มันเป็นแหล่งขนส่งติดต่อกับชาวต่างชาติ ยังทำให้ปีนังเต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายอีกต่างหาก
กูชิง
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบอร์เนียว เป็นที่พักที่ดีที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่ตั้งใจจะอยู่ระยะยาว และเที่ยวชมมาเลเซียให้ทั่วสักหน่อย คุณสามารถแวะชมสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ เช่น วัดโทวเปกกง วัดจีนที่ขึ้นชื่อว่าเก่าแก่ที่สุด หรือเดวาน อันดันกัน เนเกรี อาคารราชการที่มีรูปทรงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
บริเวณเมืองหลวงของรัฐซาบาห์นี้ มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อมากมาย โดยเฉพาะอุทยานสัตว์ป่า ลอค คาวี และอุทยานแห่งชาติคินาบาลู ซึ่งมีสัตว์ป่าอย่างลิงจมูกยาว, ลิงอุรังอุตัง, เสือ และช้าง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสไตล์เอาท์ดอร์ให้ทำมากมาย อาทิ การตั้งแคมป์, เดินป่า, ปีนเขา หรือล่องเรือก็มีครบหมด
มะละกา
ด้วยความที่มันมีบทบาทสำคัญในการเดินเรือระหว่างอินเดียและจีน ทำให้มันได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย จนมีสิ่งก่อสร้างจากศิลปะที่แตกต่างปะปนอยู่ด้วยกัน กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่งดงาม ทั้งวัดจีนเก่าแก่ เช็งฮุนเต็ง และสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของชาวดัตช์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น