วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562

10 ข้อห้าม ที่อย่าเผลอไปทำในประเทศญี่ปุ่น



  • 10ข้อห้ามที่อย่าเผลอไปทำในประเทศญี่ปุ่นเชียวนะ


            ในสังคมของทุกประเทศมีสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติและมีข้อห้ามทางวัฒนธรรมอยู่มากมาย และแน่นอนว่าในแต่ละวัฒนธรรมย่อมมีกฎที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้อย่างตายตัว แต่สมาชิกในสังคมนั้นได้เรียนรู้กฎเหล่านี้มาตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งมันอาจจะเข้าใจยากสำหรับคนต่างชาติ และความไม่รู้หรือการไม่เคารพกฎเหล่านั้น อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง และอาจทำให้คุณดูเป็นวายร้ายหรือตัวสร้างปัญหาได้เช่นกัน
    เรามาดูข้อห้ามที่ไม่ควรทำในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับเรื่องเล่าสนุก ๆ จากประสบการณ์ตรงของผู้ที่ได้เคยทำพลาดมาแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ!

    1. อย่าถูกเนื้อต้องตัว

    โดยส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นจะไม่สัมผัสตัวกันถ้าไม่ได้สนิทมากพอ แต่ในบางพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นอาจแตกต่างกันออกไปตามนิสัยและวัฒนธรรมของผู้คนในท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างเช่นในแถบคันไซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโอซาก้ามักจะชินกับการถูกเนื้อต้องตัวกันมากกว่าคนที่มาจากที่อื่น คุณจะเห็นวัยรุ่นหรือนักเรียนหยอกล้อกันในที่สาธารณะ หรือผู้หญิงจับมือกันหรือกอดกันเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อไปที่โตเกียวจะแตกต่างกันมาก ซึ่งต้องระวังเพราะชาวตะวันตกบางคนไปแตะไหล่เพื่อนร่วมงานผู้ชายแบบเป็นมิตร (เพราะเคยทำตอนอยู่ที่โอซาก้า แต่ไม่มีใครว่าอะไร) ซึ่งเพื่อนร่วมงานคนนั้น กลับมองเธออย่างรังเกียจเหมือนทำความผิดอะไรร้ายแรง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าในส่วนของเพื่อนร่วมงานนั้น ก็มีส่วนคล้ายกับวัฒนธรรมไทย ที่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวเอง “ถูกตัว” มากจนเกินไป
    สำหรับคู่รัก ในประเทศไทยการแสดงความรักแบบมากเกินไปตามที่สาธารณะ อาจจะถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรและจะโดนมองไม่ดี แต่ในประเทศญี่ปุ่นเราอาจจะเห็นคู่รักแสดงความรักต่อกันค่อนข้างเปิดเผยกว่าในระดับหนึ่ง คู่รักญี่ปุ่นจะสวีทกันมาก ๆ เรียกได้ว่าฆ่าคนโสดแบบสุด ๆ

    2. ตะเกียบ
    กฎข้อที่ 1: อย่ากัดหรือเลียตะเกียบ ไม่ว่าอาหารจะอร่อยสักแค่ไหน นี่คือ กิริยาที่คนญี่ปุ่นรับไม่ได้ วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับความสะอาดเหนือสิ่งอื่นใด ร้านอาหารทุกร้านค่อนข้างใส่ใจในเรื่องของการทำความสะอาดอุปกรณ์เป็นอย่างดี ซึ่งตะเกียบเป็นสิ่งที่ทำให้มือของคุณไม่ต้องสัมผัสกับอาหารโดยตรง และนั่นก็แปลว่าปากของคุณก็ไม่ควรสัมผัสกับตะเกียบโดยตรงเช่นกัน นอกจากนี้ การกัดหรือดูดตะเกียบยังเป็นการกระทำที่ไม่สุภาพและไม่ถูกสุขลักษณะอีกด้วย
    กฎข้อที่ 2: อย่าปักตะเกียบลงไปในข้าว บางครั้งคุณก็อาจไม่รู้ว่าควรวางตะเกียบไว้ตรงไหนดี แต่ระวังอย่าปักตะเกียบลงไปในข้าวโดยเด็ดขาด เพราะในงานศพตามประเพณีของญี่ปุ่นจะวางข้าวหนึ่งถ้วยเอาไว้ใกล้ ๆ กับศีรษะของศพและปักตะเกียบเอาไว้ตรงนั้น ข้าวที่ตักจนพูนที่วางไว้เหนือศีรษะของผู้ตายเป็นสัญลักษณ์แทนหลุมฝังศพโบราณในสมัยที่คนญี่ปุ่นยังจัดการศพด้วยการฝัง ซึ่งตะเกียบ หรือ ฮาชิ (ในภาษาญี่ปุ่น) เป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “สะพาน” (ซึ่งออกเสียงว่า “ฮาชิ” เหมือนกัน) โดยเป็นทางผ่านไปสู่สวรรค์ของวิญญาณ เพราะเหตุนี้ ถ้าคุณปักตะเกียบลงไปในข้าว คุณอาจจะได้เห็นสายตาพิฆาตของคนรอบข้างมองมาทางคุณ
    กฎข้อที่ 3: อย่าส่งต่อหรือรับอาหารด้วยตะเกียบ เหตุผลยังคงเกี่ยวข้องกับประเพณีในงานศพ เพราะจะมีการส่งกระดูกจากกองขี้เถ้าของผู้ตายต่อ ๆ กันโดยใช้ตะเกียบในงานศพ ดังนั้น อย่าทำแบบเดียวกันนี้กับอาหาร เพราะจะทำให้ทุกคนรู้สึกขนลุกได้

    3. การใช้โทรศัพท์บนรถไฟ
    ทุกคนคงจะรู้ว่าคนญี่ปุ่นเคร่งครัดเรื่องมารยาทมาก โดยเฉพาะมารยาทในรถขนส่งและที่สาธารณะ ในรถไฟหรือรถโดยสารจะมีประกาศเรื่องมารยาทต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งมีเรื่องของการใช้โทรศัพท์อยู่ในนั้นด้วย หรือคุณอาจจะได้ยินประกาศเตือนให้ปิดโทรศัพท์หลังจากเข้าไปในรถไฟ หรือบางครั้งก็เพียงเตือนให้ปิดเสียงและใช้ระบบสั่นเพื่อไม่ให้รบกวนผู้โดยสารคนอื่น ๆ แน่นอนว่ากฎเช่นนี้ทำให้ไม่มีการคุยโทรศัพท์ในรถไฟ ตลอด 4 ปีที่อยู่ที่ญี่ปุ่น ฉันเคยเจอสาวแกลญี่ปุ่นสุดเปรี้ยวคุยโทรศัพท์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่ามีสายตาหลายคู่มองมาด้วยความรู้สึกตำหนิ แต่ตราบใดที่ไม่ได้ไปรบกวนใคร ก็ไม่มีใครว่าอะไร







    4. ซ้ายหรือขวา?
    เมื่อมองดูผู้คนที่สถานีรถไฟของประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน อาจทำให้คุณรู้สึกอยากถอดใจและสงสัยว่าพวกเขาไปทำงานให้ทันกันได้อย่างไร แน่นอนว่าที่นี่มีกฏที่ผู้คนจะต้องคอยปฏิบัติตามเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างเรียบร้อย เพราะเมื่อมีใครไม่ทำตาม ก็อาจสร้างความเดือดร้อนให้คนหมู่มากได้
    กฎที่ฉันกำลังพูดถึงอยู่นี้ คือ กฎการใช้บันไดเลื่อน ทุกวัฒนธรรมมีสามัญสำนึกแบบเดียวกันว่าควรจะเว้นให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งของบันไดเลื่อนว่างไว้ เพื่อให้คนที่กำลังรีบสามารถเดินขึ้นหรือลงได้ ยกตัวอย่างเช่น ในโตเกียว ผู้คนจะยืนทางด้านซ้ายมือ เว้นขวามือไว้เพื่อให้คนเดิน ส่วนในคันไซจะกลับกัน ลองจินตนาการดูว่าถ้าคุณยืนอยู่ผิดด้าน (สมมติว่าคุณดันยืนอยู่ด้านขวามือทั้งที่ควรจะยืนด้านซ้าย) แล้วมีคนต่อคิวอยู่ข้างหลังคุณยาวเหยียดด้วยความโมโห ที่คุณคือสาเหตุที่ทำให้พวกเขาไปทำงานไม่ทัน
    เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด จำไว้เลยว่าให้ยืนด้านซ้ายมือในโตเกียว และด้านขวามือในโอซาก้า โกเบ นารา และเมืองอื่น ๆ ในคันไซ (หรือลองสังเกตรอบ ๆ ตัวคุณว่าคนญี่ปุ่นทำอะไรกัน การเลียนแบบ คือ วิธีการเอาตัวรอดที่มีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด)





    5. การให้ทิป
    นี่คืออีกหนึ่งสิ่งสำคัญในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ถ้าไปเที่ยวประเทศทางฝั่งตะวันตก ในยุโรป หรือ อเมริกา จะมีวัฒนธรรมของการให้ทิปที่ถือเป็นการชื่นชมบริกรที่ดูแลเราระหว่างมื้ออาหารเป็นอย่างดี และถือเป็นมารยาทที่ดีอย่างหนึ่ง บางร้านบอกเอาไว้อย่างชัดเจนว่าไม่รวมค่าบริการ เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องจ่ายทิปให้กับพนักงานเพิ่ม

    แต่ในประเทศญี่ปุ่นไม่เป็นเช่นนั้น โดยทิปมักจะรวมอยู่ในราคาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารหรือแท็กซี่
    ก็ตาม ซึ่งการทิ้งทิปเอาไว้นั้น ถือเป็นการกระทำที่นับว่าเสียมารยาท และส่วนมากพนักงานจะวิ่งตามหลังคุณมา เพื่อคืนเงินทอนโดยเข้าใจว่าคุณจ่ายเงินเกิน เช่นเดียวกับคนขับแท็กซี่ ซึ่งจะให้เงินทอนคุณครบทุกเยนไม่ขาดไม่เกิน และคำพูดเช่น “ไม่เป็นไร ไม่ต้องทอน” จะทำให้คนขับรถไปไม่เป็นเลยทีเดียว

    6. การสั่งน้ำมูก
    ถ้าคุณป่วยก็ควรใส่หน้ากากอนามัยด้วย แต่ถ้าคุณจามแล้วจำเป็นต้องสั่งน้ำมูกในที่สาธารณะล่ะจะต้องทำอย่างไร? ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่คุณต้องจำไว้ คือ ห้ามสั่งน้ำมูกในที่สาธารณะเด็ดขาด!

    คนญี่ปุ่นมองว่าการสั่งน้ำมูกในที่สาธารณะเป็นการกระทำที่ไม่สุภาพและสกปรก ซึ่งดูเหมือนคุณกำลังจงใจบอกทุกคนว่า “คุณอยากแพร่เชื้อให้พวกเขา!” ขอแนะนำให้คุณไปห้องน้ำและสั่งน้ำมูกให้เรียบร้อย โดยไม่ต้องกลัวว่าจะแพร่เชื้อให้ใคร หรือไม่ก็สูดน้ำมูกเอาไว้ถ้าคุณไม่สามารถไปห้องน้ำได้ (มันอาจดูน่าขยะแขยงหน่อย ๆ แต่ถ้าคุณสวมหน้ากากอนามัยเอาไว้ก็จะไม่มีใครเห็น)

    7. การรับประทานอาหารและดื่มน้ำในที่สาธารณะ
    แม้จะไม่มีกฎการห้ามทานอาหาร ขนม หรือดื่มน้ำบนรถไฟ แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่นิยมการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำในขณะกำลังโดยสารรถไฟ เพราะว่าอาจจะทำให้ที่นั่งหรือพื้นเปื้อนได้ อย่างที่ฉันได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า ความสะอาด คือ หนึ่งในสิ่งสำคัญของวัฒนธรรมญี่ปุ่น แม้จะไม่มีใครห้ามหรือออกปากตำหนิ แต่ทุกคนจะมองว่าคุณไม่มีมารยาท รวมถึงการแต่งหน้าก็เช่นเดียวกัน
    นอกจากนี้ การรับประทานอาหารในระหว่างการเดินก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ คุณอาจจะสังเกตเห็นคนยืนทานข้าวปั้นหรือแซนด์วิชหน้าร้านสะดวกซื้อ คุณอาจจะคิดว่าถ้ากำลังรีบแล้วทำไมถึงไม่เดินไปกินไป นั่นก็เพราะว่าการเดินไปกินไปเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่งในสังคมญี่ปุ่น

    8. ถอดรองเท้า
    กฎนี้ก็คล้ายกับบ้านเรา คือ การถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้าน ซึ่งการเดินเข้าไปในห้องนั่งเล่นของคนญี่ปุ่นโดยไม่ถอดรองเท้า จะทำให้เจ้าบ้านโกรธมาก และเขาจะต้องบอกคุณว่า “ช่วยถอดรองเท้าด้วย”

    คุณอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องเครียดกับเรื่องรองเท้าขนาดนั้น? สาเหตุมาจากการที่บ้านญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมนั้นปูพื้นด้วยเสื่อทาทามิ ซึ่งต้องทำความสะอาดด้วยมือเท่านั้น และสภาพอากาศของญี่ปุ่นนั้นมีทั้งฝนและโคลน ลองจินตนาการดูว่าถ้าหากทุกคนเดินเข้าบ้านด้วยรองเท้าเปื้อนโคลนและเหยียบย่ำเสื่อทาทามิจนสกปรกไปหมด การทำความสะอาดจะต้องใช่เวลานานเท่าไหร่ แล้วคุณเองจะอยากนั่งหรือนอนบนพื้นที่ทุกคนใส่รองเท้าเหยียบหรือเปล่า?

    9. แต่งตัวเซ็กซี่ในญี่ปุ่น
    สำหรับใครที่เคยอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น ขอบอกไว้เลยว่าโลกของการ์ตูนนั้นเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นมา และหลาย ๆ อย่างไม่สามารถนำมาใช้กับโลกของความเป็นจริงได้
    ในประเทศญี่ปุ่น การโชว์ร่องอก รักแร้ และไหล่เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำและไม่เหมาะสม ไม่ว่าอากาศจะร้อนสักแค่ไหน ไม่ว่าคุณจะมีเดรสสายเดี่ยวอยู่สักกี่ตัว คุณไม่ควรจะใส่มันออกไปทั้งอย่างนั้น ผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาโดยการใส่เสื้อยืดเอาไว้ใต้เดรสสายเดี่ยว (ซึ่งคุณจะทำตามก็ได้ถ้าสามารถทนความอบอ้าวของเสื้อผ้าหลาย ๆ ชั้นได้) และการโชว์ร่องอกจะทำให้คุณตกเป็นเป้าสายตาของทุกคนทั้งชายและหญิงที่คุณเดินผ่าน บางคนอาจจะใจดีพอที่จะบอกคุณว่าเสื้อผ้าของคุณนั้นไม่เหมาะสม บางคนอาจจะเอาแต่จ้อง และคิดว่าคุณเป็นพวกชอบโชว์เรือนร่างและมองคุณไม่ดี

    10. การสูบบุหรี่
    ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นดินแดนในฝันของคนชอบสูบบุหรี่เลย เพราะในหลาย ๆ พื้นที่เปิดกว้างให้สูบบุหรี่ได้ อย่างในร้านอิซากายะ และยังมีพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่ที่จัดสรรเอาไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยไม่ต้องกลัวคนอื่นรังเกียจอีกด้วย


    ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่คุณควรจะจำไว้ให้ขึ้นใจ เพราะในญี่ปุ่น คุณสามารถสูบบุหรี่ได้เฉพาะในบริเวณที่ระบุเอาไว้เท่านั้น เช่น บริเวณข้าง ๆ ห้างสรรพสินค้า หรือหน้าร้านสะดวกซื้อจะมีพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่เอาไว้ให้ และการสูบบุหรี่นอกเขตห้ามสูบบุหรี่ รวมถึงการสูบบุหรี่ในขณะที่กำลังเดินอยู่นั้น เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย หากคุณสูบนอกเขตดังกล่าว คุณอาจจะถูกปรับหรือถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตักเตือน (พวกเขาจะอยู่ทุกที่แม้ว่าคุณจะไม่ทันสังเกต)
    นี่ถือเป็นวิธีที่ประเทศญี่ปุ่นสามารถทำให้ถนนสะอาดและปลอดก้นบุหรี่ นอกจากนี้ ยังทำให้คนอื่นไม่ต้องทนรับผลกระทบจากควันบุหรี่อีกด้วย

    ขอบคุณข้อมูลจาก  https://jpninfo.com/thai/2348




    เบนโต อาหารกลางวันสุดอร่อย!!

    เบนโต กับลูกเล่นน่ารัก น่าทาน ของอาหารในกล่อง



    “?เบนโต?” ข้าวกล่องของญี่ปุ่นที่คนไทยเรียกติดปากกันว่า ” เบนโตะ ” นั้นเอง?
    โดยจริงๆ แล้ว เจ้า ” เบนโต ” หรือ ” เบนโตะ ” ที่คนไทยเรียกกันนั้นมีความเป็นมา ที่ยาวนานมาก แต่  จะขอกล่าว ถึงแค่ในสมัยเมจิ เป็นต้นมา หรือสมัยที่เริ่มเรียกว่า ” เบนโต ” นั้นเอง
    คือ ในสมัยเมจิ (ปี ค.ศ.1868-1912) เริ่มมีการจำหน่ายเบนโตตามสถานีรถไฟเป็นครั้งแรก เบนโตประเภทนี้เรียกว่า “เอกิเบน” มีหลายที่ที่ว่ากันว่าเป็นแห่งแรกที่ขายเอกิเบน แต่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดเชื่อว่า เอกิเบน เกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 16 กรกฎาคม 1885 ที่สถานีรถไฟอุทซึโนะมิยะ (Utsunomiya) จังหวัดโทจิกิ (Tochigi) โดยมีข้าวปั้นสองก้อนและมีหัวไชเท้าดองเป็นเครื่องเคียง ห่อด้วยใบไผ่ ซึ่งเบนโตลักษณะนี้พัฒนามาจาก “โคชิเบนโต” (Koshibento) เบนโตสำหรับพกพาโดยเหน็บไว้ที่สะโพกหรือเอว ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถพกพาได้สะดวก ต่อมาในสมัยเดียวกันนี้ ตามโรงเรียนก็เลิกแจกอาหารกลางวัน นักเรียนและครูต่างก็พกเบนโตมาจากบ้าน รวมไปถึงพนักงานบริษัทด้วย เบนโตสไตล์ยุโรปที่บรรจุแซนวิชแทนข้าวก็เริ่มเป็นที่รู้จักในสมัยนี้เหมือนกัน

    แต่ความสวยงามของ เบนโต?เหล่านี้ ก็ไม่ได้มีคนกล่าวถึงแต่อย่างใด ว่าใครเป็นผู้เริ่ม ทำให้มันดูน่ารัก น่าทาน กันขนาดนี้ หรืออาจจะเป็นคุณแม่บ้าน อยากจะเพิ่มสีสันให้กับอาหาร เพื่อหลอกล่อให้เด็กๆ สนุกสนานกันระหว่างทานข้าวกลางวัน จะได้ทานกันได้เยอะขึ้น ไม่รู้สึกเบื่อในรสชาติ อาหารเดิมๆ ที่คุณแม่ได้ทำไว้ให้ เพราะจะได้ตื่นตากับรูปลักษณ์ ของอาหารนั้นๆ แทน ว่าจะออกมาในรูปอะไร ใช่สัตว์ตัวโปรด หรือการ์ตูนตัวโปรดหรือไม่ จึงทำให้เหล่าคุณแม่พากันทำ เบนโต?นี้ให้ออกมาน่ารักให้ถูกใจคุณลูกๆ มาที่สุด เพียงเท่านั้น


    “BENTO” ไม่ได้มีเพียงแค่ความอร่อยและความน่ารักเท่านั้น ยังเป็นวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายในมื้อกลางวันอย่างหนึ่งได้อีกด้วย
    แถมยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราคำนวณปริมาณ สัดส่วน และคุณค่าทางอาหารในแต่ละมื้อของตนเองได้อย่างง่ายดายแต่เหนือสิ่งอื่นใด ความรู้สึกตื่นเต้นดีใจเมื่อเปิดฝากล่องเบนโตออกมานั้นก็ไม่ต่างกันไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่เองก็ตาม


    ในปัจจุบัน
    คงมีคนจำนวนมากที่กำลังลำบากกับการใช้ชีวิตวัยเรียนและวัยทำงานในแต่ละวันอย่างหนักหน่วง
    ไม่ว่าใครก็อยากผ่อนคลายให้เต็มที่ในช่วงเวลาพักเที่ยงอันน้อยนิดกันทั้งนั้น
        ขอบคุณข้อมูลจาก  https://matcha-jp.com/th/630

    วันเซ็ตสึบุน (節分, Setsubun)

    วันเซ็ตสึบุน (節分, Setsubun)



    ประเทศญี่ปุ่นจะมีวันแบ่งฤดูกาลระหว่างฤดูหนาวกับฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมักจะตรงกับ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ (บางปีก็วันที่ 4) วันนี้จะมีประเพณีทางศาสนาการปาถั่วมงคล เรียกว่า Mamemaki  เป็นการปาถั่วเพื่อขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกไป เพื่อต้อนรับความสุขในฤดูใบไม้ผลิที่กำลังมาถึงในไม่ช้า เป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีจุดกำเนิดมาจากพิธีขับวิญญาณชั่วร้าย เรียกว่า พิธีทสึอินะ (追儺, Tsuina) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนใน สมัยมุโระมะจิ



    โดยปกติจะมีกิจกรรมทั่วประเทศแตกต่างกันไป เช่นตามศาลเจ้าจะมีการโปรยถั่วเหลืองคั่วที่บรรจุมาอย่างดี โดยคนโปรยจะเป็นนักบวชหรือคนดัง นอกจากถั่วแล้วของที่โปรยก็จะอาจมีโมจิมงคล เรียกว่า Fukumochi และของที่ระลึกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะถือว่าเป็นของมงคล ของที่ทานได้ก็ทานเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนของที่ระลึกก็สามารถนำไปเก็บเป็นที่ระลึกหรือบูชาได้

     


    นอกจากกิจกรรมที่ศาลเจ้าแล้ว บ้านทั่วๆไปก็มีกิจกรรมด้วยเช่นกัน โดยให้ผู้ชายสวมบทใส่หน้ากากเป็นยักษ์ (Oni) แล้วก็ให้คนในบ้านขว้างปาถั่วใส่ พร้อมกับตะโกนดังๆ ด้วยว่า Oni wa soto! Fuku wa uchi! (鬼は外!福は内!) หมายความว่า ความชั่วร้ายจงออกไป ความสุขจงเข้ามา เด็กๆจะชอบมากปาถั่วใส่ยักษ์เนี่ย




    ทำไมต้องปาถั่วใส่ยักษ์?
    ยักษ์ หรือ โอนิ (鬼,Oni) ในภาษาญี่ปุ่น เป็นปีศาจที่นำพาสิ่งไม่ดีมาสู่คน เป็นปีศาจในตำนานของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณและมักจะพบในวรรณคดี นิทาน เรื่องเล่าขานในญี่ปุ่นอยู่เสมอ
     
    ตำนานที่กล่าวถึงยักษ์ Oni กับอำนาจวิเศษของถั่วในวัน Setsubun นั้นมีอยู่หลายตำนานแต่ที่ถูกหยิบยกมาเล่าอยู่บ่อยๆ คือเรื่องราวที่กล่าวไว้ที่วัด Mibu แห่งเกียวโต สรุปโดยย่อได้ว่า มียักษ์ตนหนึ่งใช้กำไลวิเศษแปลงกลายเป็นมนุษย์ผู้สวมใส่ชุดกิโมโนที่งดงามมาก เมื่อหญิงม่ายคนหนึ่งได้เห็นก็อยากได้กิโมโนนั้นมาก จึงออกอุบายเชื้อเชิญยักษ์ (แต่ไม่รู้ว่าเป็นยักษ์) เข้ามาทานอาหารและสุรา แล้วก็มอมให้เมา พอยักษ์เมาจนหลับไปก็จัดการขโมยชุดกิโมโนซะ แต่คือโลภไง เอากิโมโนไม่พอจะเอากำไลวิเศษด้วยจึงทำให้ยักษ์คืนร่างเดิมและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความโกรธ หญิงม่ายตกใจกลัว จังหวะนั้นคว้าอะไรก็ปาไปก่อน พอดีคว้าถั่วเหลืองได้ก็ปาใส่ยักษ์ซะเลย ปรากฏว่ายักษ์แพ้ถั่วฮะ ได้รับบาดเจ็บสาหัสเหมือนผีโดนน้ำมนต์และหนีออกจากบ้านของหญิงม่ายไป ด้วยเหตุนี้จึงมีความเชื่อว่า ถั่วเหลืองมีอำนาจวิเศษสามารถใช้ขับไล่ยักษ์และสิ่งชั่วร้ายได้





    วันนี้ตามห้าง, ซุปเปอร์มาเก็ตและร้านสะดวกซื้อ จะมีขาย Futomaki คือซูชิม้วนโรลขนาดใหญ่ ซึ่งมีต้นกำเนิดในแถบภูมิภาคคันไซ ในช่วงเย็นๆ ของวันนี้เค้าจะมีธรรมเนียมการกิน Futomaki แบบไม่ตัดแบ่ง ให้หมดในคราวเดียว และห้ามพูดในขณะที่กำลังทานอีกด้วย เป็นอาหารดั้งเดิมในแถบคันไซ แต่ว่าเค้าจะเรียก ฟุโตะมากิ ในช่วงเทศกาลนี้ว่า Ehou-maki ซึ่งหมายความว่า ทิศทางแห่งความสุข ผมก็ซัดไปเลย 2 ชิ้น ซื้อจาก 7-11 ชิ้นนึงซื้อจากซุปเปอร์แถวบ้านอีกชิ้น ซื้อ 7-11 ข้อดีคือสาหร่ายจะกรอบ เพราะเก็บรักษาสาหร่ายแบบเดียวกับข้าวปั้น แต่ไส้จะไม่หลากหลาย(เจอแต่โนริมากิทั่วๆไป)







    ขอบคุณข้อมูลจาก
     http://pantae.com/content/วันเซ็ตสึบุน+(節分,+Setsubun)+วันขับไล่สิ่งชั่วร้าย







    ชมซากุระกันเถอะ!

    ไปปิกนิก ชมซากุระ ณ เทศกาลฮานามิ (Hanami) ที่ญี่ปุ่นกันเถอะ!

    ย่างเข้าเดือนมีนาคมแบบนี้ หลายๆ คนที่วางแผนควงแขนคนรู้ใจไป ทัวร์ญี่ปุ่น ช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ก็คงกำลังใจจดใจจ่อรออัพเดท พยากรณ์ ซากุระ 2018 หรือไม่ก็กำลังวางแผนไปร่วม เทศกาลฮานามิ ชมซากุระสวยๆ กันอยู่ใช่ไหมล่ะคะ ก็แหม…ความงามของซากุระสีชมพูบานสะพรั่งที่เสกสถานที่ต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นให้รายล้อมไปด้วยบรรยากาศสุดแสนโรแมนติกราวกับเทพนิยายแบบนี้ เป็นใครก็ต้องอยากไปสัมผัสให้เห็นด้วยตาตัวเองสักครั้งแหละเนอะ
    เทศกาลฮานามิ
    สำหรับใครที่คิดว่าการเดินชมซากุระอย่างเดียวอาจจะดื่มด่ำกับบรรยากาศได้ไม่เพียงพอ วันนี้ จะพาไปรู้จักกับกิจกรรมปิกนิกปาร์ตี้สังสรรค์พร้อมกับการชมดอกซากุระในแบบฉบับคนญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า ฮานามิ (Hanami) กันค่ะ จะเป็นอย่างไร แล้วนักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ถ้าสนใจจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง 

    รู้จักเทศกาลฮานามิ และการปิกนิกชมดอกซากุระ

    ถ้าจะพูดถึงเทรนด์กิจกรรมที่คนญี่ปุ่นนิยมกันในช่วงซากุระบาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมและเป็นเทศกาลสำคัญที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ก็คือ กิจกรรมชมดอกซากุระในเทศกาลที่เรียกว่า เทศกาลฮานามิ (Hanami) นั่นเอง

    คำว่า ฮานามิ (Hanami, 花見) ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า การชมดอกไม้ โดยเฉพาะดอกซากุระ เป็นกิจกรรมที่คนญี่ปุ่นจะออกมาชื่นชมความงามของดอกซากุระสีชมพูบานสะพรั่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งกิจกรรมชมซากุระบานก็มีหลายรูปแบบ แต่ที่คนญี่ปุ่นนิยมทำกันเป็นวัฒนธรรมสืบต่อกันมายาวนานนับพันปี ก็คือ การชมดอกซากุระบานไปพร้อมๆ กับการปิกนิกใต้ต้นซากุระอันแสนอบอุ่นนั่นเองค่ะ


    เรียกได้ว่าเทศกาลฮานามิก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำให้เราได้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ท่ามกลางบรรยากาศสวยๆ แบบนี้ มาถึงตรงนี้ หลายคนคงเริ่มอยากควงแขนคนรู้ใจไปปิกนิกชมซากุระกันแล้วใช่ไหมเอ่ย? ก่อนจะไปดูดอกไม้กัน เรามาเตรียมตัวกันดีกว่าว่าถ้าจะไปปิกนิกชมดอกซากุระแบบคนญี่ปุ่นทั้งที จะต้องเตรียมตัวอย่างไร และต้องเตรียมอะไรไปบ้าง…?


    สิ่งของที่ต้องเตรียมไปปิกนิกชมดอกซากุระ

    1.เสื่อ
    สิ่งสำคัญอย่างแรกที่ขาดไม่ได้สำหรับการไปปิกนิกเทศกาลฮานามิก็คือ เสื่อ หรือแผ่นพลาสติกสำหรับปูรองนั่ง นั่นเองค่ะ ใครไม่อยากหอบหิ้วใส่กระเป๋าจากบ้านให้เมื่อยก็สามารถแวะเข้าไปหาซื้อตามร้าน 100 เยนทั่วไปในญี่ปุ่นได้เลย พอปูเสื่อแล้วบางทีคนญี่ปุ่นก็จะเอาโต๊ะพับเล็กๆ ออกมาตั้งสำหรับวางของ หรือไม่ก็เอากล่องลังมาดัดแปลงเป็นโต๊ะเล็กๆ แทนค่ะ ใครสนใจก็ลองเอาไอเดียนี้ไปใช้กันดูนะคะ
    2.อาหารและเครื่องดื่ม
    อย่างถัดมาเป็นไฮไลท์ของการมาปิกนิกเลยค่ะ ปาร์ตี้จะสมบูรณ์แบบไม่ได้ถ้าขาด ข้าวกล่อง หรือเรียกว่า เบนโตะ (Bento) แสนอร่อยนั่นเอง ส่วนใหญ่อาหารที่คนญี่ปุ่นนิยมจัดเตรียมมาจะเป็นอาหารทานง่ายๆ อย่างเช่น ซูชิ ข้าวปั้นโอนิกิริ ไข่หวาน ไก่คาราอาเกะ ไส้กรอกทอด พร้อมกับขนมหวาน ผลไม้ แล้วก็เครื่องดื่มชนิดต่างๆ ซึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไป ทัวร์ญี่ปุ่น อย่างเราอาจจะไม่สามารถเตรียมแบบทำใหม่ได้ด้วยตัวเองก็สามารถหาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านสะดวกซื้อได้เลย มีให้เลือกหยิบมาสังสรรค์กันได้ครบทุกอย่าง อ้อ! แล้วก็อย่าลืมพกจานชาม ตะเกียบ แล้วก็แก้วกระดาษมาเผื่อด้วยนะ

    3.ถุงขยะ
    สิ่งสำคัญที่ควรเตรียมมาปิกนิกชมซากุระด้วยอีกอย่างก็คือ ถุงขยะ ควรเตรียมมาหลายๆ ใบสำหรับแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง เพื่อรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ชมซากุระใน เทศกาลฮานามิ และปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศญี่ปุ่นด้วยนะคะ
    4.กล้องถ่ายรูป
    มีอุปกรณ์ครบทุกอย่างแล้ว จะขาด กล้องถ่ายรูป ไปได้ยังไงจริงไหมล่ะคะ อุปกรณ์สำคัญสำหรับเก็บภาพความประทับใจของคุณและคนพิเศษ ในบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยดอกซากุระสีชมพูบานสะพรั่งสวยๆ แบบนี้ อย่าลืมพกติดกระเป๋าไปด้วยนะคะ
    เมื่อตระเตรียมของสำหรับไปปิกนิกครบแล้ว ก่อนไปชมซากุระ เรามาดูข้อควรปฏิบัติและมารยาทเล็กๆ น้อยๆ ในการปิกนิกชมซากุระกันค่ะ แบบว่าเข้าเมืองตาหลิ่วก็ต้องหลิ่วตาตามกันสักนิด จะได้ชมซากุระกันอย่างสบายใจ

    ข้อควรระวังในการปิกนิกและมารยาทในการชมซากุระ

    1.จองที่แต่พอดี
    เทศกาลฮานามิสวยงามที่รายล้อมไปด้วยซากุระสีชมพูบานสะพรั่ง แถมหนึ่งปียังมีแค่ครั้งเดียวแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องอยากมาร่วมสัมผัสบรรยากาศกันทั้งนั้น การจับจองที่นั่งสำหรับปิกนิกชมซากุระในช่วงนี้จึงค่อนข้างคึกคัก หลายๆ คนต้องมาจองที่นั่งกันตั้งแต่เช้าเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจับจองที่นั่งก็ควรจองพอดีกับจำนวนคนก็พอ ไม่ควรจองที่นั่งเผื่อจนเกินพอดี แบ่งให้คนอื่นๆ มาสัมผัสบรรยากาศสวยๆ ของซากุระกับเราบ้าง จะได้สุขใจกันถ้วนหน้าค่ะ
    2.ไม่ทำเสียงดังรบกวนผู้อื่น
    ได้มานั่งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศสวยๆ ของซากุระที่กำลังบานสะพรั่งกับครอบครัวและคนรู้ใจทั้งที การพูดคุย ส่งเสียงคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ว่าเราก็ไม่ควรส่งเสียงดังเกินไปจนรบกวนคนอื่น หรือทำให้คนอื่นๆ เสียบรรยากาศ ช่วงเวลาแห่งความสุขแบบนี้จะได้เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของทุกคน

    3.เก็บขยะให้เรียบร้อย
    หนึ่งในประเทศที่ได้ชื่อว่ามีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอย่างญี่ปุ่น ไม่แปลกเลยที่เขาจะให้ความสำคัญในเรื่องการแยกขยะมากๆ ดังนั้นหลังจากเสร็จจากการปิกนิกด้วยความสุขใจแล้ว นอกจากจะต้องเก็บกวาดขยะตรงจุดที่เราปิกนิกให้เรียบร้อยแล้ว ควรแยกขยะตามประเภทต่างๆ และนำไปทิ้งในบริเวณที่จัดให้ด้วยค่ะ
    4.ชมซากุระอย่างมีมารยาทและปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
    หลายๆ ที่ในญี่ปุ่นที่เปิดให้เข้ามาปิกนิกชมซากุระมักจะมีกฎระเบียบกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ส่วนใหญ่มีการกั้นระยะห่างระหว่างพื้นที่นั่งกับต้นซากุระไว้อย่างชัดเจน ซึ่งตามมารยาทแล้ว การชมซากุระที่ถูกต้องควรชมอย่างเดียว ไม่ควรสัมผัส ปีนป่าย หักกิ่ง หรือเด็ดดอกซากุระจากต้นโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้ต้นซากุระเสียหายได้ เพราะจริงๆ แล้วเพียงแค่นั่งดื่มด่ำบรรยากาศที่รายล้อมไปด้วยซากุระสีชมพูบานสะพรั่ง นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ เทศกาลฮานามิ ของคุณเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขแล้วค่ะ
    เป็นอย่างไรกันบ้างคะ รู้จัก เทศกาลฮานามิ และมารยาทการชมซากุระแบบญี่ปุ่นไปแล้ว เริ่มอยากจะไปปิกนิกชมซากุระกันหรือยังเอ่ย เอาเป็นว่าถ้าใครมีเวลาว่าง หรือ มี Freeday ระหว่าง ทัวร์ญี่ปุ่น และอยากจะสัมผัสซากุระอย่างสมบูรณ์แบบตามต้นฉบับชาวญี่ปุ่น

    ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.mushroomtravel.com/page/sakura-hanami-japan/


    มารู้จักกับชุดนักเรียนญี่ปุ่นกัน

    มารู้จักกับชุดนักเรียนญี่ปุ่นกัน



    เครื่องแบบชุดนักเรียนญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันว่า เซฟุคุ (Seifuku 制服) เราอาจจะเคยเห็นตามหนัง ละคร หรือการ์ตูนต่างๆ มากันบ้างแล้วนะคะ ชุดนักเรียนญี่ปุ่นนั้นจะมีรูปแบบแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละโรงเรียนจะเป็นผู้กำหนดเอง โดยประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้เครื่องแบบนักเรียนมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 แล้วค่ะ


    ปัจจุบันโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนเกือบทุกโรงเรียนก็ต่างให้นักเรียนสวมชุดเครื่องแบบ รวมทั้งมหาวิทยาลัยผู้หญิงบางแห่งก็ยังคงใช้เครื่องแบบอยู่เช่นกันค่ะ
    มาดูชุดนักเรียนในแค่ละระดับชั้นกันดีกว่า..
    ชุดนักเรียนญี่ปุ่น
    ชุดนักเรียนญี่ปุ่นระดับประถม

    เด็กๆ ที่ญี่ปุ่นเริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาประมาณอายุ 7 ขวบค่ะ นักเรียนในระดับนี้จะไม่มีเครื่องแบบ แต่ในปัจจุบันบางโรงเรียนก็บังคับให้นักเรียนชายใส่เสื้อสีขาวและสวมหมวก ส่วนนักเรียนหญิงใส่เสื้อสีขาวและกระโปรงจีบสีเทาหรือบางครั้งก็ใส่ชุดกะลาสี โดยหมวกที่สวมจะมีสีสันสดใสเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน การเรียนระดับประถมมี 6 ชั้นด้วยกันค่ะ




    นักเรียนต้องสวมเครื่องแบบเมื่อเข้าไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นค่ะ ซึ่งจะมีทั้งหมด 3 ชั้นปีด้วยกัน โดยหลังเลิกเรียนนักเรียนก็มักจะเข้าร่วมกิจกรรมชมรมหรือ เล่นกีฬาต่างๆ ที่ทางโรงเรียนเป็นคนจัดไว้ให้ค่ะ ส่วนมัธยมตอนปลายก็มี 3 ชั้นปีเช่นกัน เด็กนักเรียนมัธยมปลายจะตั้งใจเรียนอย่างหนักเพื่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ค่ะ ส่วนชุดนักเรียนในระดับมัธยมนั้น แต่ก่อนเด็กผู้ชายจะใส่ชุดทหารส่วนเด็กผู้หญิงจะใส่ชุดกะลาสี ชุดเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากชุดทหารในยุคเมจิ ซึ่งลอกเลียนแบบมาจากชุดนาวีของยุโรป แต่ปัจจุบันแต่ละโรงเรียนก็มีชุดเครื่องแบบเป็นของตนเอง ซึ่งก็แล้วแต่โรงเรียนจะออกแบบ ชุดของผู้ชายส่วนใหญ่จะใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว เนคไท เสื้อแจ็คเก็ตที่มีตราโรงเรียน และ กางเกงขายาว ชุดผู้หญิงประกอบด้วยเสื้อสีขาว เนคไท เสื้อแจ็คเก็ตที่มีตราโรงเรียน และนอกจากนี้ชุดผู้หญิง โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนหญิงล้วน จะมีการออกแบบให้สวยงาม เป็นที่ชื่นชอบของนักเรียน เพื่อเป็นจุดขาย ให้นักเรียนอยากเข้าเรียนในโรงเรียนนั้นๆ มากขึ้นค่ะ


    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องแบบญี่ปุ่น
    มาว่ากันต่อด้วยชุดนักเรียนญี่ปุ่นในแต่ละฤดูกันค่ะ
    ประเทศญี่ปุ่นเค้ามีการใส่ชุดนักเรียนตามฤดูกาลกันด้วยค่ะ โดยทางโรงเรียนจะมีวันที่กำหนดว่าจะเปลี่ยนเป็นชุดฤดูร้อนหรือชุดฤดูหนาว เราจะใส่ตามใจชอบไม่ได้ค่ะ ซึ่งเค้าจะเรียนวันนี้ว่าวัน 衣替え (Koromogae) หรือวันเปลี่ยนชุดเมื่อเข้าฤดูใหม่ โดยปกติฤดูร้อนจะใส่เสื้อแขนสั้นสีขาว ส่วนฤดูใบไม้ผลิกับใบไม้ร่วงจะแต่งเหมือนชุดฤดูหนาว ซึ่งจะใส่ชุดแขนยาว รวมถึงเสื้อโค้ทด้วยค่ะ


         มาถึงพิธีการจบการศึกษา นักเรียนญี่ปุ่นเค้าก็จะมีธรรมเนียม เป็นการขอกระดุมกันค่ะ โดยนักเรียนหญิงเค้าก็จะไปขอกระดุมเม็ดที่สองของคนที่ตนเองชอบ ซึ่งถ้ารุ่นพี่คนไหนที่เป็นที่ชื่นชอบมากๆ กระดุมอาจจะถูกขอกันทุกเม็ดเลยทีเดียวค่ะ แต่พอเริ่มมีการเปลี่ยนเป็นใส่ชุดสูทแทน ผู้หญิงก็ได้หันไปขอเน็กไทแทนค่ะ



    ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก:
    -http://wasedaclub.wordpress.com/2010/05/11
    -http://www.geocities.jp/taewmagazinejp/PubishedWork/uniform.htm
    -http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1156099















    วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

    มาซามุเนะ และ มุรามาสะ

    มาซามุเนะ และ มุรามาสะ ดาบต้องคำสาปแห่งแดนอาทิตย์อุทัย!!


    ในตำนานของทุกๆ ประเทศ แน่นอนว่าจะมีเรื่องราวที่มีความเป็น ‘อาถรรพ์’ และ ‘วิญญาณร้าย’ อยู่ วันนี้เราก็จะพาเพื่อนๆ ดำดิ่งลงไปในตำนานของแดนซามูไร เกี่ยวกับดาบคาตานะ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองเจตจำนงแห่งการ ‘ฆ่า’ เพียงเท่านั้น!!
    คาตานะ หรือดาบซามูไรญี่ปุ่นนั้น นอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังแฝงไปด้วยประเพณีและวัฒนธรรมอันลึกซึ้งของประเทศญี่ปุ่น และดาบขึ้นชื่อของแต่ละสำนักตีดาบนั้น มักจะถูกตีขึ้นเพื่อครอบครัวใหญ่ๆ ของชนชั้นสูง
    หนึ่งในดาบในตำนานของประเทศญี่ปุ่นนั้นมีชื่อว่า Muramasa ที่ถูกตีขึ้นโดย Muramasa Sengo ที่ได้ชื่อว่าเป็นดาบอาถรรพ์ที่จะกลืนกินผู้ใช้ให้คลั่งไคล้ในการฆ่าและหลั่งเลือดทุกครั้งที่ออกจากฝัก!!

    ตอนนี้พิพิธภัณฑ์ Kuwana ในจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่นกำลังจัดแสดงดาบต้องคำสาปเหล่านี้อยู่…

    1

    ว่ากันว่าช่างตีดาบโดยทั่วไปแล้วจะเน้นไปที่การทำให้ดาบออกมาดูสวยงาม คม และแข็งแกร่งที่สุด

    2

    แต่ Muramasa เจ้าของสำนักตีดาบแห่งนี้จะใช้เวลาตีดาบทั้งวัน ทุบฆ้อนไปด้วยความปรารถนาแห่งการฆ่าและปลิดชีวิตเป้าหมายใดก็ตามที่ดาบของเขาเข้าถึง!!

    3

    งานของเขานั้นประณีตมาก จนไปเตะตาของ Tokugawa Ieyasu โชกุนในยุคนั้นเข้าให้

    4

    แต่ดาบของมุรามาสะนั้น ก็สร้างบาดแผลให้โชกุนมากมายเหลือเกิน เพราะทั้งพ่อและปู่ของเขาก็ต่างถูกสังหารด้วยคมดาบนี้

    5

    และลูกชายคนโตของโชกุนก็ยังถูกบังคับให้ทำฮาราคีรีโดยใช้ดาบเล่มนี้ ตอนที่พ่ายแพ้และถูกจับโดยศัตรู

    6

    นอกจากนี้ตัวโชกุนเองก็ยังเคยได้รับบาดเจ็บจากคมดาบนี้ด้วย…

    7

    จากประวัติศาสตร์และความโชคร้ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับตัวเขาและครอบครัว ทำให้เขาประกาศห้ามการพกดาบของช่างตีดาบคนนี้อย่างเด็ดขาด

    8

    ทำให้ดาบของมุรามาสะที่มีเป็นจำนวนน้อยอยู่แล้ว ก็ยิ่งหายากขึ้นไปอีก

    9

    และมีความเชื่อกันว่า ดาบเล่มนี้จะทำให้ผู้ใช้บ้าคลั่ง และต้องการที่จะเห็นการหลั่งเลือด ทุกๆ ครั้งที่ดาบออกจากฝัก

    10

    และดาบที่ว่าเหล่านั้นก็ถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แล้ว

    11

    บางเล่มอาจจะดูเหมือนว่าเปื้อนเลือดมาก่อน (ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นจริงๆ) แต่ที่จริงแล้วเป็นสารที่ใช้เคลือบเพื่อป้องกันตัวดาบ

    12

    ดาบมุรามาสะกว่า 20 เล่มถูกยืมมาจากทั่วประเทศญี่ปุ่น เพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้

    13
    ดาบเหล่านี้จัดโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์ Kuwana และจะจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 16 ตุลาคมที่จะถึงนี้ ค่าตั๋วเข้าชมอยู่ที่ 500 เยน หรือราวๆ 170 บาท เด็กในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเข้าฟรี เปิดทำการ 9.30 น. – 17.00 น. ปิดทุกๆ วันจันทร์

    ข้อมูลจาก https://www.catdumb.com/muramasa-excebit-333/