พิธีชงชา
หากอยากลองสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบถึงแก่นแท้ ต้องมาลองเข้าร่วม ”พิธีชงชา”
เรือนชงชาหรือห้องชงชานั้นเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อที่แสดงวัฒนธรรมแบบ “Wa” ของญี่ปุ่น พิธีชงชาของญี่ปุ่นถูกรังสรรค์ขึ้นโดยแฝงสัญลักษณ์ต่างๆที่แสดงเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นไว้มากมาย เช่น เรือนชงชาที่ทำจากไม้ไผ่ ไม้ และกระดาษแบบญี่ปุ่น จนไปถึงอาหารจานเล็กๆและศิลปะของจานที่อย่างเข้ากันอย่างดี ซึ่งเรียกว่า Kaiseki องค์ประกอบแต่ละอย่างนี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเป็นญี่ปุ่นในแบบดั้งเดิม
วัฒนธรรมการชงชาคืออะไร
ย้อนกลับไปสมัยนารา กล่าวกันว่าญี่ปุ่นเริ่มมีการนำเข้าชาจากจีนในสมัยนั้น
ในช่วงสมัยคามาคุระ วัฒนธรรมการดื่มชาเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น หลังจากพระนิกายเซนนามว่า Eisai ได้เขียนหนังสือชื่อ “Kissai Yojo-ki” บอกเล่าประโยชน์ของการดื่มชา จึงทำให้เห็นประโยชน์ของชาในฐานะที่เป็นยาอย่างหนึ่ง จากนั้นการดื่มชากลายมาเป็นวัฒนธรรมพิเศษมากยิ่งขึ้นในสมัยมุโรมะชิ ทำให้มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ในการชงชาและมีการพัฒนาสถาปัตยกรรมแบบ “Shoin” อันเป็นจุดกำเนิดของเรือนชงชาที่เราเห็นกันอย่างในปัจจุบัน “Tatemae” นั้นถือเป็นธรรมเนียมที่สำคัญในพิธีชงชา โดยมีรากฐานมากจากปรัชญาของเซน ในสมัยอะซึชิ-โมโมยะมะ ช่วงศตวรรษที่ 15 พระ Sen no Rikyuได้พัฒนาปรัชญาแห่งการชงชาจนกลายมาเป็น “wabi-cha” ที่แฝงศิลปะแห่งความเรียบง่ายในแบบญี่ปุ่น
อุปกรณ์ในพิธีชงชา

・อุปกรณ์ที่สำคัญในพิธีชงชา ตามด้างล่างนี้ ผ้า2ชั้นที่ไว้คลุมและเช่นทำความสะอาดอุปกรณ์
・กระดาษ “ไคชิ” กระดาษญี่ปุ่นไว้รองขนมหวาน ใช้แทนจาน
เมื่อดื่มชาหมดแล้ว ให้ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ เช็ดขอบถ้วยชา แล้วจึงใช้นิ้วนั้นเช็ดที่กระดาษไคชิ เพื่อทำความสะอาด
ในกรณีที่ชาเข้มข้น ใช้กระดาษไคชิปาดตรงขอบถ้วยชา
อีกทั้งหากทานขนมหวานไม่หมด สามารถใช้กระดาษไคชิห่อขนมที่ทานเหลือได้
・นัทสึเมะ โถใส่ผงชามัตฉะ
・ชะอิเระ โถใส่ชา ทำมาจากเซรามิก
・ชะฉะคุ ช้อนตักชา โดยทั่วไปทำจากไม้ไผ่ มีลักษณะยาว ปลายแหลมเล็ก
・ชะเซน อุปกรณ์ที่คนชาให้เข้ากัน โดยการเติมน้ำร้อนลงในถ้วยชา แล้วใช้ชะเซนคนลงตรงกลางถ้วย คนให้ผงชาละลายจนทั่ว
・ชะคิง ผ้าที่ทำจากป่าน ไว้เช็ดทำความสะอาดถ้วยชา
・ชะวัง ถ้วยชาที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ แตกต่างขึ้นอยู่กับฤดูและพิธี
・ฮิชะคุ อุปกรณ์ไว้ตักน้ำชงชา ในฤดูร้อนจะมีขนาดเล็ก ในฤดูหนาวจะมีขนาดใหญ่ ขนาดแตกต่างกันไปตามฤดู
・ชะคะมะ กาน้ำสำหรับต้มน้ำใส่ชา
・ภาพแขวนผนัง จะเป็นภาพวาดหรือตัวอักษรก็ได้ จะแขวนไว้ที่ “โทโคโนมะ”(เป็นส่วนที่ยกขึ้นสูงเล็กน้อย ไว้ประดับภาพแขวน หรือ วางแจกันดอกไม้ ) ในห้องชงชา
・แจกันดอกไม้ ไว้สำหรับตกแต่งดอกไม้ จะวางประดับไว้ที่ “โทโคโนมะ”เช่นกัน
・กระดาษ “ไคชิ” กระดาษญี่ปุ่นไว้รองขนมหวาน ใช้แทนจาน
เมื่อดื่มชาหมดแล้ว ให้ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ เช็ดขอบถ้วยชา แล้วจึงใช้นิ้วนั้นเช็ดที่กระดาษไคชิ เพื่อทำความสะอาด
ในกรณีที่ชาเข้มข้น ใช้กระดาษไคชิปาดตรงขอบถ้วยชา
อีกทั้งหากทานขนมหวานไม่หมด สามารถใช้กระดาษไคชิห่อขนมที่ทานเหลือได้
・นัทสึเมะ โถใส่ผงชามัตฉะ
・ชะอิเระ โถใส่ชา ทำมาจากเซรามิก
・ชะฉะคุ ช้อนตักชา โดยทั่วไปทำจากไม้ไผ่ มีลักษณะยาว ปลายแหลมเล็ก
・ชะเซน อุปกรณ์ที่คนชาให้เข้ากัน โดยการเติมน้ำร้อนลงในถ้วยชา แล้วใช้ชะเซนคนลงตรงกลางถ้วย คนให้ผงชาละลายจนทั่ว
・ชะคิง ผ้าที่ทำจากป่าน ไว้เช็ดทำความสะอาดถ้วยชา
・ชะวัง ถ้วยชาที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ แตกต่างขึ้นอยู่กับฤดูและพิธี
・ฮิชะคุ อุปกรณ์ไว้ตักน้ำชงชา ในฤดูร้อนจะมีขนาดเล็ก ในฤดูหนาวจะมีขนาดใหญ่ ขนาดแตกต่างกันไปตามฤดู
・ชะคะมะ กาน้ำสำหรับต้มน้ำใส่ชา
・ภาพแขวนผนัง จะเป็นภาพวาดหรือตัวอักษรก็ได้ จะแขวนไว้ที่ “โทโคโนมะ”(เป็นส่วนที่ยกขึ้นสูงเล็กน้อย ไว้ประดับภาพแขวน หรือ วางแจกันดอกไม้ ) ในห้องชงชา
・แจกันดอกไม้ ไว้สำหรับตกแต่งดอกไม้ จะวางประดับไว้ที่ “โทโคโนมะ”เช่นกัน
ขั้นตอน

แนวคิดพิธีชงชานั้นได้จัดขั้นตอนการชงตามแบบฉบับของตัวเอง โดยจะใช้คำว่า “เทะมะเอะ” ในพิธีชงชาต่อไปนี้จะแนะนำขั้นตอนทั่วไปโดยจะจัดขึ้นตามโดยไม่จำกัดช่วงเวลา
1.ใช้ชะฉะคุ ตักผงชาจากโถใส่ชาลงในถ้วยชา
2.ใช้กระบวยตักน้ำ ตักน้ำร้อนใส่ถ้วยชา
3.ใช้ชะเซนคนชาให้เข้ากัน
4.สำหรับแขกผู้ดื่มชา จะจับถ้วยชาด้วยมือขวา โดยแบมือซ้ายเพื่อวางถ้วยชา
5.โดยการหมุนถ้วยชาไปตามเข็มนาฬิกา แล้วค่อยดื่ม
6.หลังจากดื่มชาแล้ว เช็ดขอบถ้วยตรงบริเวณที่ดืม แล้วหมุนถ้วยขาทวนเข็มนาฬิกา 3ครั้ง แล้วจึงวางถ้วยชาเพื่อส่งคืน
1.ใช้ชะฉะคุ ตักผงชาจากโถใส่ชาลงในถ้วยชา
2.ใช้กระบวยตักน้ำ ตักน้ำร้อนใส่ถ้วยชา
3.ใช้ชะเซนคนชาให้เข้ากัน
4.สำหรับแขกผู้ดื่มชา จะจับถ้วยชาด้วยมือขวา โดยแบมือซ้ายเพื่อวางถ้วยชา
5.โดยการหมุนถ้วยชาไปตามเข็มนาฬิกา แล้วค่อยดื่ม
6.หลังจากดื่มชาแล้ว เช็ดขอบถ้วยตรงบริเวณที่ดืม แล้วหมุนถ้วยขาทวนเข็มนาฬิกา 3ครั้ง แล้วจึงวางถ้วยชาเพื่อส่งคืน
ข้อมูลจาก
https://livejapan.com/th/article-a0000304/
https://livejapan.com/th/article-a0000304/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น